พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
โชว์พระกรุล้านนา

ต้อนรับปีใหม่


ต้อนรับปีใหม่


ต้อนรับปีใหม่

   
   
     
โดย : หล้าเจียงฮาย   [Feedback +0 -0] [+0 -0]   Wed 2, Feb 2011 23:32:11
 








 
 
โดย : หล้าเจียงฮาย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 1 ] Wed 2, Feb 2011 23:35:21









 
 
โดย : หล้าเจียงฮาย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 2 ] Wed 2, Feb 2011 23:37:39









 
 
โดย : หล้าเจียงฮาย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 3 ] Wed 2, Feb 2011 23:41:51









 
 
โดย : หล้าเจียงฮาย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 4 ] Wed 2, Feb 2011 23:43:58









 
 
โดย : หล้าเจียงฮาย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 5 ] Wed 2, Feb 2011 23:46:29









 
 
โดย : หล้าเจียงฮาย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 6 ] Wed 2, Feb 2011 23:48:22









 
 
โดย : หล้าเจียงฮาย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 7 ] Wed 2, Feb 2011 23:51:20









 
 
โดย : หล้าเจียงฮาย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 8 ] Wed 2, Feb 2011 23:53:19









 
 
โดย : หล้าเจียงฮาย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 9 ] Wed 2, Feb 2011 23:55:17









 
 
โดย : หล้าเจียงฮาย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 10 ] Wed 2, Feb 2011 23:56:52









 
 
โดย : หล้าเจียงฮาย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 11 ] Wed 2, Feb 2011 23:58:31









 
 
โดย : หล้าเจียงฮาย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 12 ] Thu 3, Feb 2011 00:00:41





 

ยังมีอีกนะครับไว้โอกาสหน้า แค่นี้ก่อนนะครับ

 
โดย : หล้าเจียงฮาย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 13 ] Thu 3, Feb 2011 00:02:18

 

ปีใหม่นี้สงสัยจะอันตราย เท่าที่ดูนะครับ คิดว่าไม่น่าจะดี ส่วนองค์สุดท้าย(เลี่ยมทอง)น่าจะเป็นบ่อสวกขึ้นกรุนาซาวครับ แต่ต้องดูองค์จริงอีกทีครับ

 
โดย : สจ.บอม    [Feedback +3 -0] [+0 -0]   [ 14 ] Thu 3, Feb 2011 01:02:00

 

พ่อบุญธรรมของน้าผมที่จังหวัดน่านเป็นคนค้นพบพระกรุนี้แท้ ๆ และแกไปขุดเอง  เอาไปเอามากลับกลายเป็น   ไม่เป็นไรครับ  วงการนี้ผมเข้าใจ ผมคงไม่เหมาะกับวงการนี้  น้าผมจะไปสร้างพระธาตุเจดีย์ที่จังหวัดน่าน  คงจะเอาพระทั้งหมดมีมากกว่าในรูปที่ลงอีกนะครับ ที่ลงบางส่วน พระฮางยาขนาดฝ่ามืออีกหลายองค์ คงจะเอาบรรจุไว้ในพระธาตุดีกว่า  ผมไม่ได้เป็นเซียน ไม่มีชื่อในวงการ  และผมก็คงไม่

เมืองน่าน หรือ"นันทบุรี" ก่อตั้งเมื่อสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๘  ตามพงศาวดารกล่าวว่า "ท้าวพระยาผานอง ราชวงศ์ภูคา เมืองปัว เป็นผู้สร้างเมื่อปีระวายซะง้าย จุลศักราชได้ ๗๓๐ ตัว เดือน ๑๒ ขึ้น ๖ ค่ำ ยามแกนั้นแล เมื่อสร้างเสร็จแล้ว  ราชวงค์ภูคาได้ครอบครองต่ออีก ๑๖ ชั่ว"    เมืองเดิมตั้งอยู่ตำบลศิลาเพชร(เขตอำเภอปัว) ต่อมาในรัชสมัย พระยากานเมือง ได้ย้ายเมืองล่องตามลำน้ำน่านลงทิศใต้  มาตั้งเมืองใหม่ที่ดอนแช่แห้งเรียกว่า  เมืองภูเพียงแช่แห้ง (ปัจจุบัน เป็นกิ่งอำเภอภูเพียง) ตั้งเมืองอยู่ได้ ๑๑ ปี ลำน้ำน่านเปลี่ยนทางเดิน พระยาผากอง โอรสของพระยาการเมืองจึงย้ายเมืองมาตั้งอยู่ริมน้ำน่านฝั่งทิศตะวันตก ซึ่งเป็นเขตเทศบาลเมืองน่านในปัจจุบัน  เมืองน่านเป็นเมืองเก่าแก่ มีเขตปกครองตนเอง แต่บางคราวก็ต้องตกเป็นหัวเมืองเป็นประเทศราชบ้าง เมื่อยามแว่นแคว้นใกล้เคียงมีกำลังมากกว่ามาบุกรุกยึดครอง ประวัติศาสตร์เมืองน่าน แบ่งออกเป็น ๔ ยุค

  ๑ ยุคสร้างเมืองปัวและเมืองน่าน (ระหว่างปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พ.ศ. ๑๙๙๒ )

  ๒  ยุคขี้นกับอาณาจักรล้านนา  (พ.ศ. ๑๙๙๓ - ๒๑๐๑ )

  ๓  ยุคขึ้นกับพม่า (พ.ศ.๒๑๐๓-๒๓๒๘)

  ๔  ยุคขึ้นกับกรุงรัตนโกสินทร์(พ.ศ.๒๓๓๑-๒๔๗๕)

เมืองน่านเป็นเมืองแห่ง พุทธศาสนา ที่สำคัญ มีวัดวาอาราม ศาสนสถาน ศาสนสมบัติ ประติมากรรมและสถาปัตยกรรมต่าง ๆ เป็นศิลปะโบราณเก่าแก่มีอายุหลายร้อยปีมากมาย

จากประวัติศาสตร์ บรรพชนเมืองน่านในอดีตได้สร้างพระเครื่อง ตามคติโบราณของพุทธศานิกชนเพื่อสืบทอดพระศาสนา เพื่อความเป็นสิริมงคลของบ้านเมือง   พระเครื่องเมืองน่านที่พบตามกรุสำคัญหลายกรุ เช่น กรุบ่สวก กรุนาซาว กรุพวงพยอม และกรุสวนตาล

พระบ่สวกเป็นพระเครื่องที่พบในกรุวัดร้างโบราณ บ้านบ่อสวก ตำบลสวก อำเภอเมือง จังหวัดน่าน วัดร้างที่ขุดพบพระบ่สวก ปัจจุบันไม่มีสภาพวัดร้างให้เห็นแล้ว เนื่องจากถูกทำลาย ถูกขุดค้นเสาะหาของโบราณหลายครั้ง นอกจากนี้ยังถูกขุดเอาเศษหินดินทรายนำไปถมปรับถนนภายในหมู่บ้าน และยังถูกไถปรับพื้นที่ให้เป็นที่ปลูกพืชไร่ของชาวบ้านจนไม่มีร่องรอยหลงเหลือพอเป็นหลักฐาน

พระบ่สวก ขุดพบเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๘ เล่ากันว่า "ชาวบ้านที่อาศัยในบริเวณนั้นได้แผ้วถางป่าในบริเวณเนินดินวัดร้างเพื่อทำการปลูกพืชไร่ เมื่อทำการจุดไฟเผาเศษไม้เศษหญ้าที่กองทิ้งไว้ แต่จุดไฟเผาไม่ไหม้ ชาวบ้านจึงปักใจเชื่อว่าภายใต้เนินดินนั้นน่าจะมีสมบัติโบราณที่มี่ค่าฝังซ่อนเอาไว้ จึงบอกเล่าและชักชวนญาติ ๆ  และเพื่อนบ้านทำการขุด เมื่อขุดลงไปไม่มากนัก ก็พบกองอิฐโบราณ มีแผ่นหินขนาดใหญ่ปิดทับ หลังจากงัดแผ่นหินออก ก็พบพระเครื่องเนื้อดินเผาเรียงรายในกรุจำนวนมากมาย ข่าวการขุดพบพระกรุบ่สวก ได้แพร่กระจายออกไป ชาวบ้านทั้งต่างบ้านหลายกลุ่มที่สนใจพากันไปขุดหาพระบ่สวกกันแทบทุกวัน

พระบ่สวกมีทั้งหมด ๓ พิมพ์

๑ พิมพ์นั่งเล็ก

๒  พิมพ์นั่งใหญ่

๓ พิมพ์ยืนลีลา

แต่ละพิมพ์มีขนาดที่แตกต่างกันไป เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง มีการตัดกรอบหลายแบบ เป็นแบบสามเหลี่ยมธรรมดา สามเหลี่ยมยอดแหลม สามเหลี่ยมปลายตัด แบบกลมรีคล้ายใบพุทรา(ใบตัน) แบบหลังอูมคล้ายไข่ผ่าซึก และชนิดมีกรอบยกสูงขึ้น เรียกบ่สวกฮางยา พระมีสามสีคือสีแดง น้ำตาล เขียวหินครก  เนื้อพระบ่สวกเป็นดินผสมค่อนข้างละเอียดมีกรวดทรายผสมอยู่พอประมาณ เป็นพระที่ผ่านการเผาที่ความร้อนสูง เนื้อพระละลายตัวจนมีความแข็งแกร่งดุจหิน เอกลักษณ์พิเศษอีกอย่างหนึ่งที่ไม่เหมือนกับพระกรุอื่นใด คือ พระบ่สวกจะเป็นพระที่มีฐานหนา ใต้ฐานตัดเรียบ พระบ่สวกทุกองค์นำมาวางตั้งได้ไม่ล้ม

พระบ่สวกพิมพ์นั่งเล็ก

เป็นพระปางมารวิชัย ศิลปน่าน ประทับอยู่บนฐานบัลลังก์ ๒ ชั้น(ชั้นเดียวก็มี) องค์พระสมส่วนงดงามมาก พระพักตร์รูปไข่ พระหนุแหลมเล็กน้อยในองค์ที่พิมพ์ติดชัดจะเห็นพระเนตร ตลอดจนพระนาสิกชัดเจน พระเกศเป็นชั้นมองดูคล้ายสวมชฎายาวยอดแหลม พระอุระนูนเด่นมาก พระนาภีคอดเล็ก พระกรทอดโค้งพองาม

พระพิมพ์นั่งเล็กเป็นพิมพ์ที่สวยงาม มีขนาดกระทัดรัด มีขนาดกว้างประมาณ ๒-๓ ซม. สูงประมาณ ๓.๕-๔.๕ ซม. พระบ่สวกพิมพ์นั่งเล็กบางคนเรียก "พระนาง"

 

พระบ่สวกพิมพ์นั่งใหญ่

เป็นพระนั่งปางมารวิชัย ศิลปน่าน ประทับนั่งอยู่บนฐานเขียงชั้นเดียว พระพักตร์แบบผลมะตูม เห็นพระเนตร พระนาสิก ตลอดจนพระโอษฐ์ชัดเจนแทบทุกองค์ ส่วนพระกรรณเห็นเพียงลาง ๆ เท่านั้น พระเกศเป็นชั้นยอดพระเกศแบบบัวตูม พระอุระเล็กแฟบ เห็นผ้าสังฆาฏิชัดเจน ปลายสังฆาฏิพาดลงมาจนถึงพระอุทร ช่วงพระนาภีคอดเล็กน้อย โดยเฉพาะพระอุทรใหญ่กว่าพระอุระ(ชาวบ้านเรียกพระพิมพ์ขี้ปุ๋ม)พระพาหาขวาทอดโค้งคล้ายเม็ดกุ้งด้านข้างตัดกรอบพระด้วยผิวไม้รวก ด้านหลังมีทั้งแบบปาดราบ และแบบหลังลายมือ

พิมพ์นั่งใหญ่จะมีขนาดเขื่องกว่าพิมพ์นั่งเล็ก ขนาดกว้างประมาณ ๔-๕ ซม. สูงประมาณ ๖-๗ ซม.

พระบ่สวกพิมพ์ยืนลีลา

เป็นพระยืนลีลา พระพักตร์ยาวรี เห็นรายละเอียดของพระพักตร์ชัดเจนทุกส่วน พระขนงวาดโค้งพองาม พระเนตรเป็นตุ่มโปนออกมาเล็กน้อย พระนาสิกเป็นสันโด่งรับกับพระโอษฐ์ที่ยื่นออกมา พระหนุแหลมเล็กน้อย พระเกศเป็นชั้นยอดแหลมเล็กน้อยพองาม พระกรรณยาวแนบเสมอพระพักตร์ พระศอเป็นลำใหญ่ พระอังศาเทลาดทั้งสองข้าง พระกรขวาทอดดิ่งลงตามลำพระองค์ ปลายพระหัตถ์เสมอพระชานุ พระกรซ้ายยกขึ้นแนบระหว่างพระอุระ  มีเส้นจีวรลากจากพระกัปประช้ายห้อยลงไปเป็นเส้นโค้งหนา ชายจีวรอยู่ในระดับต่ำกว่าพระชานุเล็กน้อย พระบาททั้งสองข้างอยู่ในลักษณะเยื้องก้าวไปทางซ้าย ประทับยืนบนฐานเขียงยื่นออกมาจากผนัง พื้นผนังว่างเปล่าปราศจากลวดลายใดๆทั้งสิ้น กรอบพระมีทั้งแบบสูงยกขอบ(ฮางยา)และแบบราบเรียบ ขนาดกว้างประมาณ ๕.๕ ซม. สูงประมาณ ๘.๕-๑๐.๕ ซม.

 
โดย : หล้าเจียงฮาย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 15 ] Thu 3, Feb 2011 12:09:21

 
ตรวจสอบก่อนลงโชว์ด้วยครับ
 
โดย : admin    [Feedback +5 -1] [+0 -0]   [ 16 ] Thu 3, Feb 2011 13:55:33

 

จริงเป็นเท็จ เท็จเป็นจริง จริงแท้ไม่แน่นอน เหนื่อยครับ

 
โดย : หล้าเจียงฮาย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 17 ] Thu 3, Feb 2011 15:08:46

 

พระแท้ต้องแท้สถานเดียวนะครับ

(อย่าแท้คนเดียว เดี๋ยวเหนื่อยจริง)

 
โดย : สจ.บอม    [Feedback +3 -0] [+0 -0]   [ 18 ] Thu 3, Feb 2011 16:37:02

 
ต้อนรับปีใหม่ : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.