เห็นว่าเป็นเรื่องที่ดี จึงคัดลอกบทความของเวปอื่นมาให้อ่านกันครับ
เนื่องจากเคยเรียนมาเกี่ยวกับเรื่องนี้มันน่าสนใจมากคะเลยอยากให้ผู้มีบุญทั้งหลาย ได้รับความรู้นี้เพื่อเป็นวิทยาทานไปยังเบื้องหน้าคะ ข้อมูลหาค่อนข้างจะยากเพราะเป็นในเชิงการศีกษาในส่วนของประวัติศาตร์ศิลปะคะแต่ก็หามาได้พอสมควรคะ
ห้าร้อยปีหลังการเสด็จปรินิพพานก็ยังไม่มีการสร้างพระพุทธรูป เพราะประติมากรรมรอบองค์พระสถูปได้ใช้สัญลักษณ์อื่นแทนพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น
ภาพพระมารดาบรรทมฝัน มีช้างเผือกลงมา และเข้าไปในพระอุทรแล้วทรงตั้งครรภ์.
ภาพพระมารดาบรรทมฝัน มีช้างเผือกลงมา และเข้าไปในพระอุทรแล้วทรงตั้งครรภ์.
ภาพนี้เป็นภาพพระมารดาทรงสุบินว่ามีช้างมาเข้าสู่อุทร
ดอกบัวและแท่นบัลลังก์ แทนการประสูติของพระพุทธองค์
พุทธประวัติตอนประสูต ศิลปะอมรวดี ราวพุทธศตวรรษที่7 ขวาบนคือพระพุทธมารดาทรงพระสุบิน ขวาล่างคือพระพุทธองค์ประสูติ สังเกตว่าไม่มีรูปพระพุทธเจ้า มีเพียงดอกบัวเป็นฐานอันแสดงไว้ ด้วยเหตุที่นายช่างศิลป์ในสมัยแรกๆนั้นไม่นิยมสร้างรูปพระพุทธเจ้าจริงๆ ใช้เพียงสัญลักษณ์แทน
ภาพพระมารดาบรรทมฝัน, มุมบนซ้าย ภาพการทำนายฝัน, มุมขวาล่าง ภาพการประสูติที่ลุมพินี. มุมซ้ายล่าง การพาพระกุมารไปให้ฤษีดู รอยพระบาทบนแผ่นผ้าคือ สัญลักษณ์แทนองค์พระกุมาร.
สร้างรูปต้นโพธิ์ที่เคยประทับแท่นศิลาแทนพระพุทธเจ้าเมื่อตรัสรู้แล้ว
สัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้าในยุคแรกๆ ไม่มีการสร้างพระพุทธรูป แต่ใช้รูปม้าทรงที่ว่างเปล่า ให้รู้ว่านี่คือพุทธองค์ที่เคยทรงนั่งบนหลังม้าประจำพระองค์มีแต่อานเปล่า
นอกจากนี้ถ้าภาพแกะสลักชิ้นไหนมีรูปรอยพระบาทจะหมายถึงการปรากฏองค์ของพระพุทธเจ้าในสถานที่นั้น
พระธรรมจักร ก็เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่ง ที่แสดงถึง “ พระธรรมคำสอน ” ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชได้ใช้เป็นตราแผ่นดิน และปัจจุบันยังเป็นส่วนหนึ่งของธงชาติอินเดีย
รูปพระสถูป เป็นสัญลักษณ์ของการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
แนะนำให้ดูเพิ่มเติมจากเว็บนี้คะ
[url=http://www.buddhadasa.org/html/life-work/theatre/sculpture/sculpture.html] เว็ปนี้สุดยอดคะเต็มๆบางภาพไม่เคยเหงเลย
และขอขอบคุณ palungdham.com yclsakhon.com dondream.blogspot.com มา ณ ที่นี้คะ
ขออุทิศส่วนบุญจากสาระบทนี้ให้พระผู้มอบชีวาทุกชาติเพื่อจะเป็นวิทยาพิจรณาแก่นักบุญสาธุ
เครดิต http://board.palungjit.com/f13/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B-276635.html
|