สู้วัว กีฬา, ประเพณีหรือ ความป่าเถื่อนของอนารยชนในโลกยุคศตวรรษที่ ๒๑ ?
posted on 06 Apr 2008 03:22 by sailomteepanmaa in InMyMind
'สู้วัว'
กีฬา, ประเพณี
หรือ ความป่าเถื่อนของอนารยชน
ในโลกยุคศตวรรษที่ ๒๑ ?
เรามักได้ยินชื่อสมญาของประเทศสเปน
ว่าเป็นดินแดนของ "กระทิงดุ"
หรือแม้แต่ใช้เรียกชื่อทีมฟุตบอลตามข่าวกีฬา
แต่แท้จริงแล้ว วัวที่วิ่งไล่ผู้คนไปตามถนน
หรือวัวที่พุ่งเข้าขวิดมาตาดอร์อย่างน่าหวาดเสียวในสนามสู้วัวนั้น
เป็นวัวที่ดุร้าย ก้าวร้าว ร้ายกาจ จริงหรือ?
กีฬาสู้วัว ดูจะเป็นภาพที่ติดตาฝังใจ
เป็นวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่เกรียงไกร
เร้าระทึกใจด้วยเสียงโห่ร้องอันกึกก้องของผู้คนบนอัฒจันทร์
เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของสเปน
จนมักจะถูกนำมาใช้ประกอบในฉากภาพยนตร์อยู่เสมอ
การสู้วัวคืออะไร?
การสู้วัวก็คือกิจกรรมการทารุณสัตว์
ที่ไม่มีทางปกป้องตัวเองชนิดที่ร้ายแรงที่สุด
และนี่คือ
.
.
THE TRUTH BEHIND BULLFIGHTING
ความจริงเบื้องหลังเกมสู้วัว
http://www.sharkonline.org/bullfighting1.mv
ฉากที่ 1
นี่คือุปนิสัยที่แท้จริงของวัวกระทิงยามที่มันไม่ถูกทำร้ายหรือถูกยั่วยุ
ตรงข้ามกับคำโฆษณาชวนเชื่อของพวกปกป้องเกมสู้วัว
จริง ๆ แล้ว ตามธรรมชาติ พวกมันชอบอยู่เงียบ ๆ และเป็นสัตว์รักสงบ
หากจะมีปฏิกิริยาตอบโต้ก็เพียงเพื่อป้องกันตนเอง
หรือหวงหญ้าของมันเท่านั้น
ก่อนหน้าการต่อสู้เป็นเวลาหลายชั่วโมง
มันจะถูกขังในที่แคบ ๆ และโดดเดี่ยว
ไม่มีอาหาร น้ำ แสงสว่าง หรือเพื่อน ๆ ในฝูงของมัน
เหล่านี้ทำให้มันตื่นกลัวและสับสน
มันอ่อนล้าทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ
และก่อนจะถูกปล่อยเข้าไปในสังเวียน มันจะถูกทิ่มแทงด้วยฉมวก
มันจึงได้รับบาดเจ็บและโชกเลือดอยู่แล้ว
ก่อนหน้าที่การต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอดจะเริ่มขึ้น
ดังนั้น การต่อสู้นี้ จึงถูก "กำหนดเอาไว้แล้ว" อย่างสมบูรณ์
ฉากที่ 2
ม้าก็เป็นเหยื่ออีกชนิดหนึ่งในเกมสู้วัว
เมื่อถูกปิดตามันจึงไม่สามารถหนีไปไหนได้
มันถูกใช้ล่อวัวที่กำลังโกรธและมึนงงให้พุ่งเข้าหา
ชายสองคนบนหลังม้าเป็นผู้แทงหอกลงไปบนหลังวัวซ้ำแล้วซ้ำเล่า
แต่ม้าเป็นผู้รับเคราะห์แทน แม้ว่ามันจะถูกพันด้วยเบาะไว้อย่างดี
แต่ม้าก็ยังบาดเจ็บและถูกขวิดตายเป็นประจำในสนามสู้วัว
ฉากที่ 3
คนขี่ม้าทิ่มหอกให้ลึกเข้าไปในแผฝคอและแผ่นหลังของวัว
บิดคว้านเพื่อฉีกกล้ามเนื้อและเอ็น
เพื่อไม่ให้วัวต่อสู้ป้องกันตัวเองได้ ทั้งช่วยให้เลือดออกมากยิ่งขึ้น
ฉากที่ 4
บาดแผลและการเสียเลือดจากคมหอกเป็นสิ่งอำมหิตเหลือเชื่อ
และยิ่งทำลายข้ออ้างว่านี่เป็นการต่อสู้ที่ยุติธรรม
ฉากที่ 5
คนเหล่านี้กล้าหาญดั่งคำโฆษณาโอ้อวดเกี่ยวกับเกมสู้วัวจริงหรือ
ผู้กล้าเหล่านี้จะรอคอยจนกระทั่งวัวจวนพิการด้วยหอกบนหลังม้า
จึงจะกรูเข้าหา แต่พวกเขาก็พร้อมเสมอที่จะมุดแผล็วเข้าแอบหลังกำบัง
ข้างสนามได้ทุกเวลาในภาพจะเห็นแผ่นป้ายโฆษณา
Corona Beer ของบริษัท Anheuser-Busch
ซึ่งให้การสนับสนุนความโหดร้ายและขี้ขลาดนี้
ฉากที่ 6
ขณะที่วัวกำลังเหนื่อยหอบ เลือดโทรม และสิ้นแรง
พวกผู้กล้าก็จะออกมาจากที่กำบังแล้วเข้าโจมตีเหยื่อด้วยฉมวก
เงินค่าโฆษณาเบียร์ไหลเข้ากระเป๋าของเจ้าของสนาม
เป็นการสนับสนุนอย่างเปิดเผยต่อการทรมานสัตว์
และกิจกรรมอันผิดกฎหมายทั่วทั้งสหรัฐและทั่วโลก
ฉากที่ 7
หอกและฉมวกยิ่งทำร้ายหัวไหล่ที่เต็มไปด้วยบาดแผลให้ฉีกขาดมากยิ่งขึ้น
รวมทั้งกล้ามเนื้อคอ ทำให้วัวช็อก หอบสำลัก และร้องออกมา
ฉากที่ 8
ยิ่งฉมวกพุ่งแทงตัวมันมากขึ้นเท่าไหร่ การเสียเลือดก็จะเพิ่มขึ้นเท่านั้น
ทำให้มันอ่อนล้าและเคลื่อนไหวลำบากยิ่งขึ้น
บางครั้งมันไม่สามารถจะก้าวเดินยกหัวขึ้นได้เลย
นั่นยิ่งทำให้มันไม่มีโอกาสต่อสู้หรือป้องกันตัวเองได้เลย
ฉากที่ 9
บ่อยครั้ง ที่วัวเกร็งค้างไปทั้งตัวไม่อาจเคลื่อนไหว
เนื่องจากความเจ็บปวดทรมาน
มันถึงกับลงไปคลานหรือล้มทั้งยืน
ขณะพยายามที่จะกระเสือกกระสนเอาชีวิตรอด
ฉากที่ 10
แม้จะบาดเจ็บสาหัส เจ้าวัวน้อยแค่โตกว่าลูกวัวยีนหยัดขึ้นปกป้องตัวเอง
ทำให้ "นักสู้วัวผู้กล้าหาญ" ถึงกับวิ่งแจ้นเข้าที่หลบภัย
ฉากที่ 11
ต่อเมื่อวัวผ่านขั้นตอนการถูกทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ
ของเหล่าสมุนนักสู้วัวเป็นเวลาหลายชั่วโมง
จนเสียขวัญ สับสน และหมดแรง
ร่างกายเต็มไปด้วยบาดแผล และเสียเลือดใกล้พิการอยู่แล้ว
จึงวาระนั้นเอง ที่มาตาดอร์ผู้องอาจจะปรากฏตัวออกมา
เพื่อโอ้อวด "ความกล้าหาญ" ต่อหน้าผู้ชม
นักสู้ผู้สง่างามจะแสดงลีลาต่างๆ หยอกล้อ ท้าทาย วัวที่หมดแรงใกล้ตาย
ยืนแทบไม่ไหว แม้แต่ขี้เยี่ยวก็ไหลออกมาอย่างอั้นไม่อยู่
ฉากที่ 12
หลังจากบำเรอความกระหายเลือด
ของเหล่าผู้ชมที่กรึ๊บของเมาได้ที่ไปแล้ว
ฆาตกร "ผู้กล้าหาญ" ก็เร่งเหยื่อเข้าสู่ความตาย
ด้วยการคลุมหัวของมันด้วยผ้าแดงแล้วแทงด้วยดาบ
พวกโฆษกของเกมสู้วัวอ้างว่าดาบนั้นจะทะลุพรวด
เข้าถึงหัวใจและทำให้มันขาดใจตายทันที
แต่สิ่งนี้แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย
โอกาสดีที่สุดของวัวที่จะตายได้เร็วโดยเกี่ยวเนื่องกัน
ก็ต่อเมื่อมันถูกแทงเข้าไปในปอด
ซึ่งจะทำให้มันกระอักเลือดออกมาทั้งปากและจมูก
แล้วจมอยู่ในกองเลือดของมันเอง
บ่อยครั้งที่มันถูกแทงซ้ำแล้วซ้ำอีก
จนส่งเสียงร้องออกมาด้วยความเจ็บปวด
และพยายามดิ้นรนที่จะหนีไปให้พ้นจากแก็งค์ฆาตกรโหดที่รุมล้อมอยู่
ฉากที่ 13
วัวถูกห้อมล้อมด้วยฝูงฆาตกร
โดยมีผืนผ้าสีสามผืนปรากฏลวงอยู่โดยรอบ
เลือดทะลักออกมาทั้งปากและจมูก
ทันทีที่แทงมันด้วยดาบยาว
พวกฆาตกรพยายามที่จะกดและลากใบดาบ
ให้กินเข้าไปลึกที่สุดในเนื้อ
บีบให้มันยอมทรุดตัว
เพื่อจะยอมรับการทรมานอยู่ตรงนั้น
ฉากที่ 14
ท้ายที่สุดวัวก็ไม่อาจทนยืนอยู่ได้อีกต่อไป มันทรุดลงยอมศิโรราบ
ฆาตกร"ผู้กล้าหาญ" ถือมีดอยู่ในมือ
ย่างเท้าเข้ามาหาวัวที่สิ้นเรี่ยวแรงและใกล้ตายเพื่อทรมานมันต่อ
นักฆ่า (thug)บรรจงแทงเข้าไปที่ด้านหลังคอ
แล้วคว้านมีดกลับไปกลับมาอย่างเลือดเย็นเพื่อตัดสันหลังของมัน
ฉากที่ 15
การตัดเฉือนของคมมีดทำให้วัวกลายเป็นอัมพาต
แต่ยังไม่ตายและยังคงรู้สึกตัวอยู่
ฉากที่ 16
ภาพนี้แสดงถึงเนื้อแท้ของเกมสู้วัวได้อย่างเหมาะเจาะ
นั่นคือ มันสะท้อนให้เห็นถึงโฉมหน้าของพวกตาขาว
แต่ใจอำมหิต ชื่นชอบการเข่นฆ่าทารุณ
ซึ่งพยายามจะอำพรางตัวเอง
ไว้ด้วยหน้ากากของ ศิลปะ ความกล้าหาญ และ ประเพณี
โดยอ้างว่าเป็นการ "ท้าทาย" ศัตรู
- ซึ่งถูกทำให้สิ้นหวังพ่ายแพ้อยู่ก่อนแล้ว
ฉากที่ 17
พลเมืองส่วนใหญ่ทั้งของสเปนและเม็กซิโกไม่สนับสนุนเกมสู้วัว
เสียงร้องแห่งความเมตตาที่ต้อต้านความเลวร้ายนี้
ได้รับการตอบรับจากรัฐบาลอย่างเงียบงันและเมินเฉย
ซึ่งเป็นความฉ้อฉลและทรยศเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมเกมสู้วัว
ฉากที่ 18
วัวที่ขยับตัวไม่ได้แต่ยังมีความรู้สึกตัวอยู่ ถูกลากไปรอบ ๆ สนาม
เพื่อให้ความบันเทิงครั้งสุดท้ายแก่ฝูงชนที่กระหายเลือด
และอีกครั้งหนึ่ง คุณจะมองเห็นป้ายโฆษณาของเบียร์โคโรน่า
ที่ให้การสนับสนุนการฆ่าและทรมานสัตว์อย่างชัดเจน
ฉากที่ 19
เหยื่อของเกมสู้วัวไม่ได้มีแค่วัวและม้าเท่านั้น แม้แต่วัวสาวที่ผอมแห้งเหล่านี้
ก็ยังใช้เป็นเครื่องมือฝึกสำหรับนักสู้วัวและนักท่องเที่ยวเพื่อความสนุกบันเทิง
รวมทั้งลูกวัวก็ยังมีไว้ให้บริการ
ขอเพียงแค่มีเงินจ่ายค่าธรรมเนียม
ใครก็ได้ที่มีอาการป่วยทางจิต สามารถที่จะลงไปฆ่า
หรือทรมานสัตว์เหล่านี้ในสนามสู้วัวได้ทุกเมื่อ
ฉากที่ 20
ลูกจ้างในสนามสู้วัวจุ่มปลายฉมวกโชกเลือดลงไปในจอกเบียร์
ฉมวกนี้เพิ่งดึงออกมาจากร่างของวัวที่ถูกทรมานจนตาย
ในสนามสู้วัวของเมืองพูบลา เม็กซิโก
เบียร์โคโรน่านั้นมีเลือดของสัตว์ผู้บริสุทธิ์แปดเปื้อนอยู่อย่างแท้จริง
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้คนที่มีเมตตาธรรม
จะระลึกถึงภาพนี้ก่อนที่จะสั่งเบียร์ยี่ห้อนี้มาดื่ม
หรือซื้อสินค้าทุกตัวของ Anheuser-Busch
น่าขำ บริษัทซึ่งเป็นผู้ผลิตเบียร์ Budweiser
และเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ เบียร์โคโรน่า
ก็ยังเป็นเจ้าของ Sea World marine parks
ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้ใส่ใจต่อชีวิตสัตว์และสิ่งแวดล้อม
ภาพนี้สะท้อนความเป็นจริงที่แท้
Anheuser-Busch ปฏิเสธที่จะยกเลิกการสนับสนุนกิจกรรม
ที่อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นการทารุณสัตว์ที่เลวร้ายที่สุดบนผืนโลก
และยิ่งน่าประหลาดใจที่พวกเขายังเป็นผู้สนับสนุน
การแข่งขันขี่ม้าพยศ(rodeos) ทั้งในสหรัฐและแคนาดาอีกด้วย
สัตว์ป่าไม่เคยฆ่าเพื่อการกีฬา
มีเพียงมนุษย์เท่านั้น
ที่หาความสนุกจากการ
ทรมานและฆ่า
เพื่อนร่วมโลกด้วยกัน
Wild animals never kill for sport.
Man is the only one to whom
the torture and death of his fellow creatures
is amusing in itself.
-- Froude
ไม่สำคัญอะไร-ถ้ามันจะคิดเป็นด้วยเหตุผล
ไม่สำคัญอะไร-หากมันจะพูดได้
แต่มันจะสำคัญไหม-ถ้ามันรู้สึกเจ็บปวดได้
It doesn't matter if they can reason
it doesn't matter if they can speak
what does matter is if they can suffer.
ดูข้อมูลการกระทำทารุณต่อสัตว์ในรูปแบบต่าง ๆ
http://www.sharkonline.org/
เครดิตhttp://sailomteepanmaa.exteen.com/20080406/entry
|