พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
มีข่าวเอิ้นบอก

เชิญสั่งจอง "เหรียญเจริญดี-มีดหมอ รุ่นแรก" ลป.ดี ธมฺมธีโร" วัดส้มเกลี้ยง จ.ตาก


เชิญสั่งจอง "เหรียญเจริญดี-มีดหมอ รุ่นแรก" ลป.ดี ธมฺมธีโร" วัดส้มเกลี้ยง จ.ตาก


เชิญสั่งจอง "เหรียญเจริญดี-มีดหมอ รุ่นแรก" ลป.ดี ธมฺมธีโร" วัดส้มเกลี้ยง จ.ตาก

   
 

"หลวงปู่ดี ธมฺมธีโร" ท่านเคยพำนักดั้งเดิมอยู่ที่ "วัดเทพากร กรุงเทพ" ต่อมาได้ย้ายไปพำนักอยู่ที่ "วัดราษฎร์ประคองธรรม นนทบุรี" และได้ย้ายอีกครั้งไปพำนักอยู่ที่ "วัดสุทธาราม ซ.พระเจ้าตากสิน 19 กรุงเทพ" และปัจจุบันท่านได้ย้ายไปพำนักอยู่ที่ "วัดส้มเกลี้ยง ตาก" ได้ระยะนึงแล้ว 

เนื่องด้วยปัจจุบันกุฏิที่หลวงปู่ดีท่านอยู่นั้นมีขนาดคับแคบมากซึ่งไม่เหมาะกับพระภิกษุผู้สูงวัยอย่างหลวงปู่ ดังนั้น "ท่านพระครูสิริสุตวัฒน์" (เจ้าอาวาสวัดส้มเกลี้ยง) จึงได้ปรึกษาหารือกับกรรมการวัดและลูกศิษย์ของหลวงปู่ และมีมติตกลงกันว่าจะดำเนินการจัดสร้างกุฏิหลังใหม่ให้กับหลวงปู่ ซึ่งต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการสร้างกุฏิหลังใหม่ประมาณ 300,000 บาท

 ดังนั้นทางวัดส้มเกลี้ยงจึงได้มีมติให้จัดสร้างเหรียญหลวงปู่ดี ธมฺมธีโร "รุ่นเจริญดี" ขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างอย่างเป็นทางการครั้งแรกของทางวัดส้มเกลี้ยง เพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมบุญบูชาเพื่อหาปัจจัยมาสมทบทุนสร้างกุฏิถวายหลวงปู่ดีในครั้งนี้และสร้างเสนาสนะภายในวัดต่อไป

 
     
โดย : ตาก   [Feedback +0 -0] [+0 -0]   Thu 28, Feb 2013 14:33:59
 








 

เหรียญรุ่นนี้มีลักษณะดังเหรียญของ "หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง" หนึ่งในเบญจภาคีเหรียญยอดนิยมซึ่งจัดได้ว่าสวยงามที่สุด ด้านหน้าเป็นรูปหลวงปู่ดีเต็มองค์ ด้านบนมีอักษรว่า "หลวงปู่ดี" ด้านล่างมีอักษรว่า "เจริญอายุ ๙๓ ดี" ขนาบข้างซ้ายขวาด้วยอักษรที่ว่า "วัดส้มเกลี้ยง จังหวัดตาก" 

ด้านหลังของเหรียญเป็นยันต์ห้าและมีอักษรภาษาไทยว่า "ดี" ภายในยันต์ ด้านบนเป็นยันต์ "นะหน้าทอง" ตามตำหรับของ "หลวงปู่จันทร์ จันทโชติ วัดนางหนู ลพบุรี" (ปรมาจารย์แห่งยุคสงครามอินโดจีน) ซึ่งหลวงปู่ดีเป็นศิษย์ของท่าน จึงได้นำยันต์นี้มาเป็นยันต์ครูของท่านด้วย มีอักษรภาษาไทยด้านบนของยันต์นะหน้าทองว่า "เจริญดี" สองข้างซ้ายขวาขนาบด้วยอักษรที่ว่า "พุทธศักราช ๒๕๕๖" 

เหรียญนี้แฝงด้วยกุศโลบายอยู่หลายอย่าง กล่าวคือเป็นเหรียญเจริญทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เจริญทั้งด้านบนและด้านล่างและสี่ดี จะทำการอธิฐานจิตปลุกเสก ณ พระอุโบสถ วัดส้มเกลี้ยง เวลาเที่ยงวัน ในวันเสาร์ที่ 23 มีนาคม 2556 "เสกเดี่ยว สวดเดี่ยว" กล่าวคือ "หลวงปู่ดี ธมฺมธีโร" เป็นผู้อธิฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว พระครูสิริสุตวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดส้มเกลี้ยงเป็นผู้สวดเดี่ยว เจริญธรรมจักรกัปปวตนสูตรและพระพุทธมนต์ รับวัตถุมงคลได้หลังจากเสร็จพิธี 
- เหรียญเนื้อเงิน สร้างจำนวน 149 เหรียญ ให้ร่วมบุญเหรียญละ 1,499 บาท
- เหรียญเนื้อนว สร้างจำนวน 1,149 เหรียญ ให้ร่วมบุญเหรียญละ 299 บาท
- เหรียญเนื้อทองแดง สร้างจำนวน 11,149 เหรียญ ให้ร่วมบุญเหรียญละ 99 บาท

มีดหมอ รุ่นแรก สร้าง100เล่ม ไม่มีให้จองแล้วครับ


ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ท่านเจ้าอาวาส "พระครูสิริสุตวัฒน์" (พระมหาวันชัย) 081-6659221

สามารถโอนปัจจัยร่วมบุญมาได้ตามนี้ค่ะ

ชื่อบัญชี: วัดส้มเกลี้ยง
ธนาคาร: กรุงไทย 
สาขา: ตาก 
เลขที่บัญชี: 603-0-40890-9

ชื่อบัญชี: วัดส้มเกลี้ยง
ธนาคาร: ธนชาต 
สาขา: ตาก 
เลขที่บัญชี: 323-6-00446-4 

หรือธนาณัติสั่งจ่ายในนาม: พระครูสิริสุตวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดส้มเกลี้ยง ต.ป่ามะม่วง อ.เมือง จ.ตาก 63000

 
โดย : ตาก    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 1 ] Thu 28, Feb 2013 14:39:03









 

"หลวงปู่ดี ธมมฺธีโร" 
ศิษย์ของ 
"หลวงปู่จันทร์ จันทโชติ วัดนางหนู ลพบุรี" 
(ปรมาจารย์แห่งยุคสงครามอินโดจีน)
__________________

ชาติภูมิ

หลวงปู่ดีท่านเป็นชาวอ่างทองโดยแท้ ท่านถือกำเนิดขึ้นที่อำเภอโพธิ์ทอง เมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน๘ ปีระกา
หรือเมื่อเทียบเคียงแล้วก็คือ วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๔ ในครอบครัวของคุณพ่อเป้า คุณแม่ไทย นามสกุล มณีเนียม 
ท่านเป็นมีพี่น้องร่วมอุทรทั้งสิ้น ๓ คน หลวงปู่ดีท่านเป็นลูกคนกลาง อาชีพหลักของครอบครัวท่านก็คือทำนา 
ในวัยเด็ก เด็กชายทองดีได้ร่ำเรียนเขียนอ่านที่วัดใกล้บ้าน แต่ด้วยฐานะที่ยากจนจึงเรียนไม่ทันสำเร็จ 
ก็จำต้องออกมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพทำนาเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว ท่านช่วยครอบครัวของท่านอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง
จึงได้กราบลาบิดามารดา มาบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ ๑๙ ปี 

บรรพชาและอุปสมบท

เส้นทางธรรมเริ่มต้นจากบรรพชาเป็นสามเณร ณ.วัดศรีกุญชร อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง โดยหลวงตาพริ้ง พระเกจิเรืองวิชาในสมัยนั้น 
สามเณรทองดีได้อยู่ปรนนิบัติรับใช้จนท่านเมตตา จึงสอนสรรพวิชาต่างๆให้จนหมดไส้หมดพุง จวบจนอายุครบบวช 
ท่านได้เข้ารับการอุปสมบท ณ.วัดโพธิ์เกรียม อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง โดยมี พระครูโพธิสารสุนทร (รอด) วัดโพธิ์เกรียม เป็นพระอุปัชฌาย์ 
พระครูจันทร์โพธิคุณ (หยวก) วัดโพธิ์เกรียม เป็นพระกรรมวาจา พระปลัดชิต วัดโพธิ์เกรียม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ 
หลังอุปสมบทได้รับนามฉายาว่า “ธมฺมธีโร” ซึ่งแปลว่า “ผู้เป็นปราชญ์ในทางธรรม”

ชีวิตบรรพชิตและปลีกวิเวก

อัตโนประวัติโดยคร่าวๆของหลวงปู่เท่าที่ได้กล่าวมานี้ ก็คงจะพอสำหรับการยืนยันความเป็นลูกหลานชาวจังหวัดอ่างทองได้ไม่น้อยนะครับท่านผู้อ่าน จริงๆแล้วชีวิตในเพศบรรพชิตของหลวงปู่ดี มีสิ่งต่างๆที่แปลกๆเกิดขึ้นมากมาย แปลกในที่นี้หมายถึงว่า
ท่านเป็นชาวอ่างทองโดยกำเนิดแต่จับพลัดจับผลู มักจะต้องได้เดินทางไปต่างถิ่นและพำนักอยู่คราวละเป็นเวลานานๆทุกที
เริ่มตั้งแต่หลวงปู่ดีท่านได้เดินทางไปอยู่กับหลวงพ่อผิว เกสโล วัดคลองสายบัว จังหวัดลพบุรี 
หลวงพ่อผิวนี้ท่านเก่งทางด้านทำนายทายทัก หลวงปู่ดีท่านเมตตาเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า หลวงพ่อผิวนั้นท่านเป็นคนรูปร่างสูงใหญ่ 
ทำนายทายทักแม่นนัก และไม่ยอมเชื่ออะไรง่ายๆ ได้วิชาอะไรมาเป็นต้องทดลองดูก่อนว่าได้ผลจริงหรือไม่ 
อย่างเช่น ท่านได้วิชาเมตตามหานิยมมา ท่านก็ทดลองโดยสั่งให้ภิกษุทองดีในสมัยนั้นบริกรรมท่องบ่นไปเรื่อยๆ 
ท่องไปเดินไป จนกว่าจะได้ผลแล้วจึงกลับ พระภิกษุทองดีก็ปฎิบัติตามคำบัญชาของครูบาอาจารย์อย่างไม่ขัดข้อง เ
ดินไปท่องไปไกลโขอยู่เหมือนกัน จนถึงต้นมะขวิดก็รู้สึกเหนื่อยจึงนั่งพักแต่ยังไม่ขาดการบริกรรม 
ก็มีผู้คนผ่านไปผ่านมาเข้ามาถวายจตุปัจจัยไทยธรรม จึงรู้ว่าได้ผลก็เดินทางกลับวัดมารายงานพระอาจารย์
หลวงพ่อผิวนั้นท่านเป็นคนเสียงดังพูดจาฉะฉาน และมีอารมณ์ขำ ที่แปลกก็คือชอบแกล้งโยม มีครั้งหนึ่งหลวงปู่ดีเล่าให้ฟังว่า
มีคุณหญิงคุณนายคณะหนึ่งเดินทางมาพร้อมด้วยอาหารคาวหวานมากมาย มาถึงก็กราบเรียนหลวงพ่อผิวว่า
“อิฉันจะมาดูหมอเจ้าค่ะหลวงพ่อ” พูดไม่ทันจบหลวงพ่อผิวท่านก็แหวกหน้าอก แล้วบอกว่า
“เอ้าดูซะ อยากดูหมอไม่ใช่รึ” หลวงปู่ท่านเล่าไปยิ้มไปแล้วบอกกับผู้เขียนว่า ข้าวปลาอาหารดีๆทั้งนั้น 
อดทั้งศิษย์ทั้งอาจารย์ เพราะคณะคุณหญิงคุณนายนั้นไม่พอใจ หิ้วปิ่นโตเดินลิ่วกลับไปเลย 

หลวงปู่จัน วัดนางหนู

อาจจะเป็นกุศลผลบุญที่สร้างมาแต่ปางก่อน หลวงพ่อผิวท่านได้นำหลวงปู่ดีไปถวายตัวร่ำเรียนวิชาจากหลวงพ่อจัน จันทะโชติ วัดนางหนู
ผู้ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่าน พระภิกษุทองดีท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาจากหลวงปู่จันนานหลายปี รวมถึงวิชาหมอดูที่ท่านได้รับการถ่ายทอดมาด้วย 
หลวงปู่ดีท่านเล่าว่า สมัยนั้นไม่ค่อยได้เรียนกับตำรา แต่จะเป็นการเรียนแบบปฏิบัติ ให้รู้จริง เห็นจริง และทำจริง 
โดยหลวงปู่จันท่านจะชักชวนให้พระภิกษุทองดีเดินทางไปกับท่าน แล้วก็เริ่มค่อยๆถามไปเรื่อยๆ “ท่านดี ตอนนี้ยามอะไร?” 
หลวงปู่ท่านก็จับยาม กี่ยามก็กราบเรียนพระอาจารย์ไป “ยามนี้จะพบคนลักษณะไหน?” อ้วน ผอม ดำ ขาว หญิง ชาย 
ก็กราบเรียนพระอาจารย์ไป และก็เป็นไปตามนั้นจริงๆ หลวงปู่ดีท่านจึงเชื่อและนำเคล็ดวิชาต่างๆมาใช้สงเคราะห์ญาตโยม
หลังจากนั้นพระภิกษุทองดีได้กราบลาพระอาจารย์ออกธุดงค์ไปทางภาคเหนือ แสวงหาความสงบวิเวกและสันโดดจนเข้าเขตพม่า
ในเมืองพม่านั้นหลวงปู่ท่านเล่าให้ฟังอย่างสนุกสนานว่า เดินผ่านป่าผ่านเขา ป่าในสมัยนั้นเป็นป่าจริงๆ 
มีสัตว์ดุร้ายมากมาย อันดับต้นๆย่อมเป็น “เสือ” หลวงปู่เล่าว่าเคยเห็นหลังลายๆของมันแว๊บๆ โอกาสที่จะเห็นมันเต็มๆตัวนั้นยาก 
พระภิกษุทองดีอาศัยความสงบวิเวกของป่าเขาปฎิบัติกรรมฐานจนรุดหน้าไปมาก จากนั้นจึงออกจากป่าเข้าเมือง 
ในประเทศพม่ามีสำนักพระปริยัติธรรมที่ขึ้นชื่ออยู่สำนักหนึ่ง ผู้เขียนต้องกราบเรียนท่านผู้อ่านก่อนว่า 
ในสมัยนั้นการศึกษาพระธรรมวินัยหรือพระปริยัติธรรมของทางพม่านั้นเขาเอาจริงเอาจัง
รู้ลึกรู้จริงเป็นอย่างมาก พระเณรจะต้องตั้งใจศึกษาเล่าเรียนเป็นอย่างมากถึงจะสำเร็จ 
หลวงปู่จึงได้เดินทาง ทั้งทางเท้าและทางเรือ ซึ่งแม่น้ำที่เรือล่องไปนั้น ต้นๆก็เป็นแม่น้ำธรรมดาแคบๆ 
พอล่องไปเรื่อยๆมันกว้างจนมองหาฝั่งไม่พบ เดินทางทางเรือ1วัน1คืนก็ถึง 
ถ้าผู้เขียนจำไม่ผิดเมืองนี้ชื่อ“เมาะรำเมย” หรือ “เมาะลำแหม่ง” 
นี่แหละ ที่ไม่แน่ใจนั้นก็เพราะช่วงที่หลวงปู่ท่านเล่าให้ผู้เขียนฟังนั้น 
ท่านอยู่ในอาการอาพาธด้วยโรคเส้นเลือดในสมองเกิดลิ่มเลือดอุดตัน ริมฝีปากท่านมีอาการเบี้ยว
จึงทำให้การออกเสียงไม่ชัดเจนเท่าที่ควร ท่านเข้าไปปวารณาตัวขอศึกษาร่ำเรียนกับเจ้าสำนัก เวลาต่อมาก็สนิทสนมกันดี 
เป็นสหธรรมิกกันไปเลย เพราะอายุไม่ห่างกันมาก เจ้าสำนักท่านนี้บารมีท่านมาก 
หลวงปู่บอกกับผู้เขียนแบบนั้น จะสร้างจะทำอะไรชาวบ้านก็ให้ความร่วมมือ ไม่ช้าก็สำเร็จ 
เจ้าสำนักถามหลวงปู่ดีว่า “ท่านมีข้าวของเงินทองมาเท่าไร” 
หลวงปู่ท่านตอบว่า “กระผมไม่มีเงินทองมาเลย ข้าวของก็มีเพียงหนึ่งย่ามเท่านี้” 
เจ้าสำนักก็รับหลวงปู่เข้าเล่าเรียนในสำนักทันที ส่วนพระภิกษุรูปอื่นที่ขนข้าวของเงินทองติดตัวมาด้วยนั้น 
ท่านเจ้าสำนักให้กลับไปได้ ไม่อนุญาตให้เข้ามาศึกษาเล่าเรียนในสำนัก ท่านผู้อ่านพอจะนึกออกไหมครับว่า เจ้าสำนักท่านกำลังคิดอะไร 
หลวงปู่บอกว่าที่ท่านเจ้าสำนักรับหลวงปู่ไว้นั้นก็เพราะท่านเห็นว่าหลวงปู่เป็นพระไม่มีตังค์ 
พระที่ไม่มีตังค์นั้นเป็นพระแท้ พระจริง ท่านจึงรับไว้ หลวงปู่ศึกษาอยู่ระยะเวลาหนึ่ง
ก็เดินทางกลับเข้าเมืองไทยทางด้านภาคเหนือ

 

และพำนักอยู่ทางภาคเหนืออยู่นานพอสมควร 
ครูบาต่างๆท่านรู้จักเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นครูบาพรหมจักร ครูบาชุ่ม ครูบาผัด ครูบาชัยวงศา 
และมีลูกศิษย์ลูกหาทางภาคเหนือมากมาย ตัวผู้เขียนเองยังเคยพบลูกศิษย์หลวงปู่ที่เดินทางมาจากจังหวัดตาก 
เลยได้พูดคุยกันพอสมควร ทำให้ตัวผู้เขียนทราบว่าทางจังหวัดตากนั้น ลูกศิษย์ทุกคนล้วนเคารพศรัทธาในองค์ตุ๊ดีกันทั้งสิ้นครับ
หลวงปู่เคยเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมให้กับพระเณรอยู่ระยะเวลาหนึ่งด้วย 
ถ้าใครสังเกตหลวงปู่ท่านอยู่ทางภาคเหนือนาน จนท่านติดคำทางเหนือ คำว่า “ก๊า” เป็นคำที่หลวงปู่ท่านมักต่อพ่วงท้ายประโยคเสมอๆครับ 

เข้าสู่เมืองกรุง

หลวงปู่เมื่อเข้าสู่ปัจฉิมวัย ท่านก็งดธุดงค์วัตร เนื่องด้วยวัยที่สูงขึ้นและการใช้ชีวิตอย่างทรหดในสมัยหนุ่มๆ
ทำให้หลวงปู่ท่านเกิดโรคประจำตัว ท่านเจ้าคุณไสว ฐิติธัมโม(มรณะภาพแล้ว) หรือ พระเทพวิริยาภรณ์
สมณศักดิ์เมื่อครั้งครองตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเทพากร และหลังจากนั้นเมื่อย้ายไปครองตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดยานนาวา 
จึงได้เลื่อนเป็นพระธรรมราชานุวัตร ท่านได้นิมนต์หลวงปู่ให้มาอยู่ในความดูแลของท่าน
และยังแต่งตั้งให้หลวงปู่เป็น “พระครูวินัยธร” พระฐานานุกรมในสมณะศักดิ์ของท่านด้วย 
ท่านจำพรรษาอยู่วัดเทพากรมาตลอดสี่สิบปี อยู่อย่างสงบเงียบและถือสันโดดโดยตลอด 
ขณะที่ท่านจำพรรษาในกุฏิไม้สองชั้นของท่านในบริเวณป่าช้าวัดเทพากร 
หลังจากนั้นหลวงปู่ก็มีโรคภัยรุมเร้า เริ่มจากมะเร็งหลอดลม จนถึงขนาดต้องผ่าตัด แต่ท่านก็หายมาได้
เป็นเรื่องที่น่าแปลกครับ หลวงปู่ท่านบอกว่า “เราก็อย่าไปให้อาหารมัน เดี๋ยวมะเร็งมันก็อยู่ไม่ได้เอง” 
อันเป็นว่าจบกับมะเร็งนี้เมื่อประมาณสามปีที่แล้ว จากนั้นท่านได้รับนิมนต์ให้ไปปลุกเสกที่จังหวัดลำพูน 
ท่านเกิดอาพาธขึ้นมาอย่างกระทันหัน ด้วยโรคอัมพฤกษ์ อันเกิดจากลิ่มเลือดได้เข้าอุดตันในหลอดเลือดสมอง 
ทำให้ต้องเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วนและก็รักษาจนมาถึงปัจจุบันนี้ 
จากอาการอาพาธนี้เอง ทำให้ลูกศิษย์ลูกหาปรึกษาหารือกันว่าควรจะทำเช่นไรกันดี 
เพราะถ้าท่านยังจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพากร ก็จะขาดคนดูแล จึงกราบเรียนปรึกษาและได้นิมนต์ให้มาจำพรรษา ณ.วัดสุทธาราม (สำเหร่) 
ในความดูแลและปกครองโดย พระครูไพศาลประชาทร (หลวงพ่อดนัย) 
ซึ่งใกล้โรงพยาบาลศิริราชที่หลวงปู่ท่านรักษาตัวอยู่เป็นประจำ คงความสะดวกแก่หลวงปู่เป็นอย่างมาก

ปัจจุบันท่านย้ายมาอยู่บั้นปลายชีวิตของท่านที่ วัดส้มเกลี้ยง อ.เมือง จ.ตากครับ ซึ่งเป็นวัดที่ท่านเคยจำพรรษากับสหธรรมมิกของท่านคือ ครูบาอุ่น อดีตเจ้าอาวาสวัดส้มเกลี้ยงครับ

 

 ธรรมะเตือนคน วัตถุมงคลเตือนใจ 


“ธรรมะ เป็นธรรมของพระพุทธเจ้า ถ้าใครบอกว่าเขานั้นเก่งที่สุด อย่าไปเชื่อ ไม่มีใครเก่งเกินพระพุทธเจ้า” 
หลวงปู่ท่านเคยกล่าวกับคณะลูกศิษย์ไว้อย่างนี้ ท่านเทิดทูลพระพุทธเจ้าอย่างที่สุด 
ท่านมักจะยกบางช่วงบางตอนในพระไตรปิฏกมาขยายความ เทศน์ให้ญาติโยมฟัง หลวงปู่ท่านชอบเทศน์ชอบสอน 
ใครๆก็ว่า ธรรมะของหลวงปู่ เป็นธรรมะที่เข้าใจง่าย ตรงไปตรงมา นำไปใช้ได้ในชีวิต หาเยอะๆ เก็บมากๆ กินน้อยๆ 
อันนี้หลวงปู่มักจะสอนลูกศิษย์ที่ไปกราบขอคำแนะนำเรื่องการดำเนินชีวิต 
บางครั้งท่านเทศน์ตรงใจผู้ถูกเทศน์โดยไม่รู้ตัว อย่างเช่น กรณีคุณบุญเลิศ (ขออนุญาติเอ่ยนาม) ไปกราบหลวงปู่เป็นครั้งแรก 
หลวงปู่ท่านก็เทศน์ไปตามปกติวิสัยของท่าน แต่ดันไปตรงใจคุณบุญเลิศเข้าอย่างจัง หลวงปู่ท่านว่า
“อย่าไปติดกับฤทธิ์กับอิทธิปาฏิหาริย์ ของพวกนี้สู้ธรรมะของพระพุทธเจ้าไม่ได้หรอก”
เท่านั้น เพียงเท่านั้นจริงๆที่ทำให้คุณบุญเลิศต้องกลับมากราบหลวงปู่ดีอีกครั้ง 
เนื่องจากคุณบุญเลิศชอบที่จะขนขวายหาครูบาอาจารย์มีความเก่งกาจในทางอิทธิฤทธิ์อยู่เป็นประจำ 
หลวงปู่ท่านรู้ได้อย่างไร ? นี้คือคำถามที่อยู่ในใจคุณบุญเลิศ หรือธรรมะจะสร้างคน สร้างจริงๆครับ 
อย่างเช่น ครอบครัวพี่น้อย (ขออนุญาตเอ่ยนามอีกท่าน) พี่น้อยย้อนให้ฟังว่า สมัยพี่น้อยยังเด็กๆ ครอบครัวคุณแม่นั้นขัดสนพอกำลัง 
คุณแม่พี่น้อยได้เข้ามากราบขอข้อคติธรรมดำเนินชีวิตกับหลวงปู่ และก็ประพฤติปฏิบัติตามที่หลวงปู่ท่านให้มา 
จากชีวิตที่ลุ่มๆดอนๆก็ค่อยๆดีขึ้น ดีขึ้น อย่างเห็นได้ชัด จนฐานะครอบครัวมั่นคงเป็นปึกแผ่น 
คุณแม่พี่น้อยได้ปวารนาตัวอุปฐากหลวงปู่ในเรื่องของการรักษาพยาบาลมาตลอดหลายสิบปี 
จนทุกวันนี้พี่น้อยก็วัยเข้าสู่เลขสี่ เมื่อถึงเวลาที่หลวงปู่จะต้องพบแพทย์ก็จะขับรถมารับท่านไปหาหมอ 
ผู้เขียนขออนุโมทนาด้วยครับ 
ในภาคของวัตถุมงคลนั้นคงจะไม่พูดถึงไม่ได้ วัตถุมงคลไม่ว่าจะเป็นพระเครื่องหรือเครื่องรางของขลัง 
ที่หลวงปู่ท่านเมตตาอนุญาตลูกศิษย์กลุ่มต่างๆให้จัดสร้างนั้นมีมากมายหลายรุ่นครับ ไม่ว่าจะเป็น 
เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่ , พระผงรูปเหมือน , ล็อกเก็ต ,เบี้ยแก้, ตะกรุด ผู้เขียนจะขออนุญาตยกมาเฉพาะบางรุ่นบางวาระเท่านั้น 
เป็นวาระที่บริสุทร์ผุดผ่องครับ ไร้ข้อกังขาหาที่ติเตียนไม่มี และเป็นรุ่นที่ลูกศิษย์ลูกหานิยมหามาครอบครองเพื่อ
ความเป็นศิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว วัตถุมงคลบางรุ่นนั้นสร้างจำนวนน้อยจริงๆครับ เช่น ๙๙ องค์ หรือไม่ก็ ๑๐๘ องค์ 
จึงเป็นที่ต้องการของศิษยานุศิษย์เป็นอย่างมากและผู้ที่มีไว้ก็หวงแหนกันมากทีเดียว

 
โดย : ตาก    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 2 ] Thu 28, Feb 2013 14:45:07









 

ปัจจุบันหลวงปู่อายุ 93 ปีแล้วครับ ท่านย้ายมาอยู่บั้นปลายชีวิตของท่านที่ วัดส้มเกลี้ยง อ.เมือง จ.ตากครับ ซึ่งเป็นวัดที่ท่านเคยจำพรรษากับสหธรรมมิกของท่านคือ ครูบาอุ่น อดีตเจ้าอาวาสวัดส้มเกลี้ยงครับ

ท่านเป็นพระเกจิคณาจารย์ที่สำคัญต้นๆของยุคนี้เลยน่ะครับ เวลาปลุกเสกพระ พระเกจิอาจารย์หลายๆท่านยอมรับว่าท่านเก่งมากเลยครับกระแสจิตท่านเป็นเอกครับ

 

ในอดีตที่ท่านอยู่ภาคเหนือท่านได้อยู่รับใช้และศึกษาธรรมมะต่างๆจากครูบาอาจารย์หลายๆท่านครับ ที่ผมได้ยินจากปากท่านคือ หลวงพ่อเกษม สุสานไตรลักษณ์ ครูบาชัยวงศ์ษา ครูบาพรหมมา ลำพูน ฯลฯ ครับ

 
โดย : ตาก    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 3 ] Thu 28, Feb 2013 14:54:35





 

คนเก่าคนแก่ ของ จ.ตาก ส่วนมากเรียกท่านว่า ครูบาดี ครับ เพราะท่านเคยมาอยู่ที่ตากนานมาแล้วครับ  

และอีกอย่างท่านได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับครูบาพรหมจักร พรหมจักโก วัดพระพุทธบาทตากผ้า ทั้งได้ช่วยสหธรรมิกครูบาชัยยะวงศาพัฒนาสร้างวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม เป็นต้น ลูกศิษย์ลูกหาจึงเรียกท่านว่า ครูบาดี หรือครูบาทองดี ครับ

ล่าสุดตอนนี้เหรียญเนื้อเงินมียอดจองทั้งหมดแล้ว ประมาณ 60 เหรียญแล้วน่ะครับ

ส่วนมีดหมอตอนนี้ยังไม่มีให้จองน่ะครับ ต้องรอหลังจากปลุกเสกเสร็จ(ถ้าเหลือ) ครับ

 

 
โดย : ตาก    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 4 ] Thu 28, Feb 2013 15:03:08









 

ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ กระผมผู้ลงประชาสัมพันธ์ให้กับทางวัด โทร 085-0518739 โสภณ ครับ

และ พระครุสิริสุตวัฒน์ (พระมหาวันชัย) โทร 081-6659221 ครับ

 
โดย : ตาก    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 5 ] Thu 28, Feb 2013 15:17:53

 
เชิญสั่งจอง "เหรียญเจริญดี-มีดหมอ รุ่นแรก" ลป.ดี ธมฺมธีโร" วัดส้มเกลี้ยง จ.ตาก : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.