ประวัติช้างให้
วัดราษฎร์บูรณะ หรือวัดช้างให้ ตั้งอยู่ที่ตำบลควนโนรี อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ชิดกับทางรถไฟสายใต้ (ระหว่างหาดใหญ่-ไปยะลา) วัดช้างให้สร้างขึ้นเมื่อใด ใครเป็นคนสร้างครั้งแรกก็ยังหาหลักฐานแน่นอนไม่ได้ มากนัก ก็พอจะอ้างอิงตามหนังสือตำนานเมืองปัตตานีได้บ้าง ซึ่งหนังสือตำนานเมืองปัตตานีรวบรวมโดย พระศรีบุรีรัฐพิพิธ (สิทธิ์ ณ สงขลา) ดังบทความตอนหนึ่งว่า
สมัยพระยาแก้มดำ เจ้าเมืองไทรบุรี ปรารถนาต้องการจะหาที่ เพื่อที่จะสร้างเมืองให้ “เจ๊ะสิตี”น้องสาวครอบครอง เมื่อโหรหาฤกษ์ยามดีได้เวลา ท่านเจ้าเมืองก็เสี่ยงสัตย์อธิฐานปล่อยช้างตัวสำคัญคู่บ้านคู่เมืองออกเดิน ป่าหรือเรียกว่า “ช้างอุปการ” เพื่อหาที่ชัยภูมิดีสร้างเมือง ท่านเจ้าเมืองก็ยกพลบริวารเดินตามหลังช้างนั้นไปเป็นเวลาหลายวัน วันหนึ่งช้างได้เดินไปหยุดอยู่ ณ ที่ป่าแห่งหนึ่ง(ที่วัดช้างให้เวลานี้) แล้วเดินวนเวียนร้องขึ้น 3 ครั้งพระยาแก้มดำถือเป็นนิมิตที่ดีจะสร้างเมือง ณ ที่ตรงนี้ แต่น้องสาวตรวจดูแล้วไม่ชอบ พี่ชายก็อธิษฐานให้ช้างดำเนินหาที่ใหม่ต่อไป ได้เดินรอนแรมหลายวัน เวลาตกเย็นวันหนึ่งก็หยุดพักพลบริวารน้อง สาวถือโอกาสออกจากที่พักเดินเล่น บังเอิญขณะนั้นมีกระจงสีขาวผ่องตัวหนึ่ง วิ่งผ่านหน้านางไปนางอยากจะได้กระจงขาวตัวนั้น จึงชวนพวกพี่เลี้ยงวิ่งไล่ล้อมจับ กระจงตัวนั้นได้วิ่งวกไปเวียนมาบนหาดทรายอันขาวสะอาดริมทะเล ( คือตำบล กือเซะเวลานี้ ) ทันใดนั้น กระจงก็ได้อันตรธานหายไป นางเจ๊ะสิตี รู้สึกชอบที่ตรงนี้มากจึงขอให้พี่ชายสร้างเมืองให้ เมื่อพระยาแก้มดำปลูกสร้างเมืองให้น้องสาว และมอบพลบริวารให้ไว้พอสมควรเรียบร้อยแล้ว ก็ให้ชื่อเมืองนี้ว่า “เมืองปะตานี” ( ปัตตานี ) ขณะนั้นพระยาแก้มดำเดินทางกลับมาถึงภูมิประเทศที่ช้างบอกให้ครั้งแรก ก็รู้สึกเสียดายสถานที่ จึงตกลงใจหยุดพักแรมทำการแผ้วถางป่า และปลูกสร้างขึ้นเป็นวัดให้ชื่อว่า “วัดช้างให้” มาจนบัดนี้ ต่อมาพระยาแก้มดำ ก็ได้มอบถวายวัดช้างให้ แก่ “ท่านลังกา”ครอบครอง พระภิกษุชราองค์นี้ท่านอยู่เมืองไทรบุรีเขาเรียกว่าท่านลังกาเมื่อท่านมา อยู่วัดช้างให้ชาวบ้านเรียกว่าท่านช้างให้เป็นเช่นนี้ตลอดมา สมัยโบราณนั้น คนมลายูนับถือศาสนาพุทธ พระยาแก้มดำคนมลายูจึงได้สร้างวัดช้างให้ขึ้น อ้างตามหนังสือของพระยารัตนภักดี เรื่องปัญหาดินแดนไทยกับมลายู หน้า 8 บรรทัด 16 ในหนังสืออิงตามประวัติศาสตร์ว่า พ.ศ.1300 กษัตริย์ครองกรุงศรีวิชัยแห่งปาเล็มบัง มีอานุภาพแผ่ไพศาลอาณาเขตเข้ามาถึงแหลมมลายู และได้ก่อสร้างสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาไว้หลายแห่ง มีผู้พบศิลาจารึกแผ่นหนึ่งที่ นครศรีธรรมราช บันทึกว่า เมื่อพ.ศ.1318 เจ้าเมืองศรีวิชัย ได้มาก่อสร้างพระเจดีย์ที่นครศรีธรรมราชและที่สำคัญอีกแห่งคือ พระพุทธไสยาสน์ในถ้ำที่ภูเขา (วัดหน้าถ้ำ) ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา คาดว่าสร้างเมื่อสมัยกรุงศรีวิชัย ระหว่างพ.ศ.1318-1400 ต่อมามีการปฎิสังขรณ์เพิ่มเติมตามที่เห็นในปัจจุบัน
ความเป็นอมตะในตำนานหลวงปู่ทวด พระหลวงปู่ทวด สิ่งที่ไม่อาจลืมเลือนควบคู่กับตำนานดังกล่าวนั้น นามที่จะเคียงคู่ตลอดไปคือ พระอาจารย์ทิม ธัมมธโร ท่านเป็นพระผู้สร้างตำนานความศักดิ์สิทธิ์แห่งวัดช้างให้ ที่คนส่วนใหญ่ยังระลึกถึงท่านเสมอในฐานะ ผู้ปิดทองหลังพระอย่างแท้จริง
พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา
พุทธคุณในวัตถุมงคลของท่านเด่นทาง เมตตามหานิยมพุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา
พุทธคุณในวัตถุมงคลของท่านเด่นทาง เมตตามหานิยม แคลวคลาด คงกระพัน ครบถ้วนครอบจักรวาล
|