พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
พระเครื่อง จ.ลำพูน

ครูบาศรีวิชัย รุ่นสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ๙ พ.ย. ๒๔๗๗ ( สร้าง ปี 2539 ) พร้อมกล่องเดิมๆ


ครูบาศรีวิชัย รุ่นสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ๙ พ.ย. ๒๔๗๗ ( สร้าง ปี 2539 ) พร้อมกล่องเดิมๆ


ครูบาศรีวิชัย รุ่นสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ๙ พ.ย. ๒๔๗๗ ( สร้าง ปี 2539 ) พร้อมกล่องเดิมๆ

ชื่อพระ :
 ครูบาศรีวิชัย รุ่นสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ๙ พ.ย. ๒๔๗๗ ( สร้าง ปี 2539 ) พร้อมกล่องเดิมๆ
รายละเอียด :
 

 

ประวัติครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย

วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน

 

 

ครูบาศรีวิชัย
นักบุญแห่งล้านนาไทย
พระมหาเถระผู้ยิ่งใหญ่ด้วยทานะ สิละ สัจจะ ขันติ
ชาตะ ๑๑ มิถุนายน ๒๔๒๑
มรณะ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๑

ข้อมูลจาก บทความเรื่อง ครูบาศรีวิชัย เรียบเรียงโดย อุดม รุ่งเรืองศรี ในเวป http://www.lannaworld.com/person/svchai.htm และ

ข้อมูลจาก เวป http://user.school.net.th/~yongyut/main.htm

 

"ต๋นข้าพระศรีวิชัยภิกขุ เกิดมาปิ๋เปิ๋กยี จุลศักราช ๑๒๔๐ ตั๋วพุทธศักราช ๒๔๒๐ ปรารถนาขอหื้อข้าฯ ได้ตรัสรู้ปัญญาสัพพัญญูโพธิญาณเจ้าจิ่มเตอะ"

 

 

ครูบาศรีวิชัย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปโดยเฉพาะในเขตล้านนาว่าเป็น "ตนบุญ" หรือ "นักบุญ" อันมีความหมายเชิงยกย่องว่าเป็นนักบวชที่มีคุณสมบัติพิเศษ อาจพบว่ามีการเรียกอีกว่า ครูบาเจ้าศรีวิชัย พระครูบาศรีวิชัย ครูบาศีลธรรม หรือ ทุเจ้าสิริ (อ่าน "ตุ๊เจ้าสิลิ") แต่พบว่าท่านมักเรียกตนเองเป็น พระชัยยาภิกขุ หรือ พระศรีวิชัยชนะภิกขุ เดิมชื่อ เฟือน หรือ อินท์เฟือน บ้างก็ว่า อ้ายฟ้าร้อง เนื่องจากในขณะที่ท่านถือกำเนิดนั้น ปรากฏฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก ส่วนอินท์เฟือนนั้น หมายถึง การเกิดกัมปนาทหวั่นไหวถึงสวรรค์ หรือ เมืองของพระอินทร์ ท่านเกิดในปีขาล เดือน ๙ เหนือ (เดือน ๗ ของภาคกลาง) ขึ้น ๑๑ ค่ำ จ.ศ. ๑๒๔๐ เวลาพลบค่ำ ตรงกับวันอังคารที่ ๑๑ เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๑ ที่หมู่บ้านชื่อ "บ้านปาง" ตำบลแม่ตืน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ท่านเป็นบุตรของนายควาย นางอุสา มีพี่น้องทั้งหมด ๕ คน มีชื่อตามลำดับ คือ

๑.  นายไหว

๒.  นางอวน

๓.  นายอินท์เฟือน (ครูบาศรีวิชัย)

๔.  นางแว่น

๕.  นายทา

ทั้งนี้นายควายบิดาของท่านได้ติดตามผู้เป็นตาคือ หมื่นปราบ (ผาบ) ซึ่งมีอาชีพเป็นหมอคล้องช้าง ของเจ้าหลวงดาราดิเรกฤทธิ์ไพโรจน์ (เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ ๗ ช่วง พ.ศ. ๒๔๑๔-๒๔๓๑) ไปตั้งครอบครัวบุกเบิกที่ทำกินอยู่ที่บ้านปาง บ้านเดิมของนายควาย อยู่ที่บ้านสันป่ายางหลวง ทางด้านเหนือของตัวเมืองลำพูน

ในสมัยที่ครูบาศรีวิชัย หรือนายอินท์เฟือน ยังเป็นเด็กอยู่นั้น หมู่บ้านดังกล่าวยังกันดารมาก มีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่มาก โดยเฉพาะชาว ปกาเกอญอ (กะเหรี่ยง) ในช่วงนั้นบ้านปางยังไม่มีวัดประจำหมู่บ้าน จนกระทั่งเมื่อนายอินท์เฟือนมีอายุได้ ๑๗ ปี ได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ ครูบาขัตติยะ (ชาวบ้านเรียกว่า ครูบาแฅ่งแฅะ เพราะท่านเดินขากะเผลก) เดินธุดงค์จากบ้านป่าซาง ผ่านมาถึงหมู่บ้านนั้น ชาวบ้านจึงนิมนต์ท่านให้อยู่ประจำที่บ้านปาง แล้วชาวบ้านก็ช่วยกันสร้างกุฏิชั่วคราวให้ท่านจำพรรษา

ในช่วงนั้น เด็กชายอินท์เฟือนได้ฝากตัวเป็นศิษย์ และเมื่ออายุได้ ๑๘ ปีก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่อารามแห่งนี้ โดยมีครูบาขัตติยะเป็นพระอุปัชฌาย์ ๓ ปีต่อมา (พ.ศ. ๒๔๔๒) เมื่อสามเณรอินท์เฟือนมีอายุย่างเข้า ๒๑ ปี ก็ได้เข้าอุปสมบทในอุโบสถวัดบ้านโฮ่งหลวง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน โดยมีครูบาสมณะ วัดบ้านโฮ่งหลวง เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาในการอุปสมบทว่า สิริวิชโยภิกฺขุ มีนามบัญญัติว่า พระศรีวิชัย ซึ่งบางครั้งก็พบว่าเขียนเป็น สรีวิไชย สีวิไช หรือ สรีวิชัย

เมื่ออุปสมบทแล้ว สิริวิชโยภิกขุก็กลับมาจำพรรษาที่อารามบ้านปางอีก ๑ พรรษา จากนั้นได้ไปศึกษากัมมัฏฐานและวิชาอาคมกับครูบาอุปละ วัดดอยแต อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ต่อมาได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของครูบาวัดดอยคำอีกด้วย และอีกท่านหนึ่งที่ถือว่าเป็นครูของครูบาศรีวิชัยคือ ครูบาสมณะ วัดบ้านโฮ่งหลวง ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่าน

ครูบาศรีวิชัยรับการศึกษาจากครูบาอุปละ วัดดอยแตเป็นเวลา ๑ พรรษาก็กลับมาอยู่ที่อารามบ้านปางจนถึง พ.ศ. ๒๔๔๔ (อายุได้ ๒๔ ปี พรรษาที่ ๔) ครูบาขัตติยะได้จาริกออกจากบ้านปางไป (บางท่านว่ามรณภาพ) ครูบาศรีวิชัยจึงรักษาการแทนในตำแหน่งเจ้าอาวาส และเมื่อครบพรรษาที่ ๕ ก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านปาง จากนั้นก็ได้ย้ายวัดไปยังสถานที่ที่เห็นว่าเหมาะสม คือบริเวณเนินเขาซึ่งเป็นที่ตั้งวัดบ้านปางในปัจจุบัน เพราะเป็นที่วิเวกและสามารถปฏิบัติธรรมได้เป็นอย่างดี โดยได้ให้ชื่อวัดใหม่แห่งนี้ว่า วัดจอมสรีทรายมูลบุญเรือง แต่ชาวบ้านทั่วไปยังนิยมเรียกว่า วัดบ้านปาง ตามชื่อของหมู่บ้าน

ครูบาศรีวิชัยเป็นผู้มีศีลาจารวัตรที่งดงามและเคร่งครัด โดยที่ท่านงดการเสพ หมาก เมี่ยง บุหรี่ โดยสิ้นเชิง ท่านงดฉันเนื้อสัตว์ตั้งแต่เมื่ออายุได้ ๒๖ ปี และฉันอาหารเพียงมื้อเดียว ซึ่งมักเป็นผักต้มใส่เกลือกับพริกไทเล็กน้อย บางทีก็ไม่ฉันข้าวทั้ง ๕ เดือน คงฉันเฉพาะลูกไม้หัวมันเท่านั้น นอกจากนี้ท่านยังงดฉันผักตามวันทั้ง ๗ คือ

วันอาทิตย์     ไม่ฉันฟักแฟง,

วันจันทร์        ไม่ฉันแตงโมและแตงกวา,

วันอังคาร       ไม่ฉันมะเขือ,

วันพุธ            ไม่ฉันใบแมงลัก,

วันพฤหัสบดี    ไม่ฉันกล้วย,

วันศุกร์           ไม่ฉันเทา (อ่านว่า "เตา" - สาหร่ายน้ำจืดชนิดหนึ่ง ลักษณะคล้ายเส้นผม มีสีเขียว),

วันเสาร์          ไม่ฉันบอน

นอกจากนี้ผักที่ท่านจะไม่ฉันเลยคือ ผักบุ้ง ผักปลอด ผักเปลว ผักหมากขี้กา ผักจิก และ ผักเฮือด-ผักฮี้ (ใบไม้เลียบอ่อน) โดยท่านให้เหตุผลว่า ถ้าพระภิกษุสามเณรรูปใดงดได้ การบำเพ็ญกัมมัฏฐานจะเจริญก้าวหน้า ผิวพรรณจะเปล่งปลั่ง ธาตุทั้ง ๔ จะเป็นปกติ ถ้าชาวบ้านงดเว้นแล้วจะทำให้การถือคาถาอาคมดีนัก

ครูบาศรีวิชัยมีความปรารถนาที่จะบรรลุธรรมะอันสูงสุดดังปรากฏจากคำอธิษฐานบารมีที่ท่านอธิษฐานไว้ว่า

"...ตั้งปรารถนาขอหื้อได้ถึงธรรมะ ยึดเหนี่ยวเอาพระนิพพานสิ่งเดียว..."

และมักจะปรากฏความปรารถนาดังกล่าว ในตอนท้ายชองคัมภีร์ใบลานที่ท่านสร้างไว้ทุกเรื่อง

อีกประการหนึ่งที่ทำให้ครูบาศรีวิชัยเป็นที่รู้จักและอยู่ในความทรงจำของชาวล้านนา คือการที่ท่านเป็นผู้นำในการสร้างทางขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพ โดยพลังศรัทธาประชาชนเป็นจำนวนมาก ทั้งกำลังกายและกำลังทรัพย์ ซึ่งใช้เวลาสร้างเพียง ๕ เดือนเศษ โดยไม่ใช้งบประมาณของรัฐ

แต่เรื่องที่ทำให้ครูบาศรีวิชัยเป็นที่รู้จักกันในระยะแรกนั้น เกิดเนื่องจากการที่ท่านต้องอธิกรณ์ ซึ่งระเบียบการปกครองสงฆ์ตามจารีตเดิมของล้านนานั้น ให้ความสำคัญแก่ ระบบหมวดอุโบสถ หรือ ระบบหัวหมวดวัด มากกว่า และการปกครองก็เป็นไปในระบบพระอุปัชฌาย์อาจารย์กับศิษย์ ซึ่งพระอุปัชฌาย์รูปหนึ่งจะมีวัดขึ้นอยู่ในการดูแลจำนวนหนึ่ง เรียกว่า เจ้าหมวดอุโบสถ โดยคัดเลือกจากพระที่มีผู้เคารพนับถือและได้รับการยกย่องว่าเป็น ครูบา ซึ่งหมายถึงพระภิกษุที่ได้รับความยกย่องอย่างสูง

ดังนั้นครูบาศรีวิชัยซึ่งมีชื่อเสียงอยู่ในขณะนั้น จึงอยู่ในตำแหน่งหัวหมวดพระอุปัชฌาย์ โดยฐานะเช่นนี้ ครูบาศรีวิชัยจึงมีสิทธิ์ตามจารีตท้องถิ่นที่จะบวชกุลบุตรได้ ทำให้ครูบาศรีวิชัยจึงมีลูกศิษย์จำนวนมาก และลูกศิษย์เหล่านี้ก็ได้เป็นฐานกำลังที่สำคัญของครูบาศรีวิชัยในการดำเนินกิจกรรม​ ทางศาสนา และกิจกรรมสาธารณประโยชน์ อีกทั้งยังเป็นแนวร่วมในการต่อต้านอำนาจจากกรุงเทพฯ เมื่อเกิดกรณีขัดแย้งขึ้นในเวลาต่อมา

ส่วนสงฆ์ในล้านนาเอง ก็มีแนวปฏิบัติที่หลากหลาย เนื่องจากมีการจำแนกพระสงฆ์ตามจารีตท้องถิ่นออกเป็นถึง ๑๘ นิกาย และในแต่ละนิกายนี้ ก็น่าจะหมายถึง กลุ่มพระที่เป็นสายพระอุปัชฌาย์สืบต่อกันมาในแต่ละท้องที่ ซึ่งมีอำนาจปกครองในสายของตน โดยผ่านความคิดระบบครูกับศิษย์ และนอกจากนี้นิกายต่าง ๆ นั้นยังเกี่ยวข้องกับชื่อของเชื้อชาติอีกด้วย เช่น นิกายเชียงใหม่ นิกายขึน (เผ่าไทขึน/เขิน) นิกายยอง (จากเมืองยอง) เป็นต้น

สำหรับครูบาศรีวิชัยนั้นยึดถือปฏิบัติในแนวของนิกายเชียงใหม่ ผสมกับนิกายยอง ซึ่งมีแนวปฏิบัติบางอย่างต่างจากนิกายอื่น ๆ มีธรรมเนียมที่ยึดถือคือ การนุ่งห่มที่เรียกว่า กุมผ้าแบบรัดอก สวมหมวก แขวนลูกประคำ ถือไม้เท้าและพัด ซึ่งยึดธรรมเนียมมาจาก วัดดอยแต โดยอ้างว่า สืบวิธีการนี้มาจากลังกา

การที่ครูบาศรีวิชัยถือว่าท่านมีสิทธิ์ที่จะบวชกุลบุตรได้ตามจารีตการถือปฏิบัติมาแต่เดิมนั้น ทำให้ขัดกับพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๖) เพราะในพระราชบัญญัติดัง​กล่าวกำหนดว่า "พระอุปัชฌาย์ที่จะบวชกุลบุตรได้ ต้องได้รับการแต่งตั้งตามระเบียบการปกครองของสงฆ์จากส่วนกลางเท่านั้น" โดยถือเป็นหน้าที่ของเจ้าคณะแขวงนั้น ๆ เป็นผู้คัดเลือกผู้ที่ควรจะเป็นอุปัชฌาย์ได้ และเมื่อคัดเลือกได้แล้ว จึงจะนำชื่อเสนอเจ้าคณะผู้ใหญ่ในกรุงเทพฯ เพื่อดำเนินการแต่งตั้งต่อไป

การจัดระเบียบการปกครองใหม่ของกรุงเทพฯ นี้ถือเป็นวิธีการสลายจารีตเดิมของสงฆ์ในล้านนาอย่างได้ผล องค์กรสงฆ์ล้านนาก็เริ่มสลายตัวลงทีละน้อย เพราะอย่างน้อย ความขัดแย้งต่าง ๆ ก็เกิดขึ้นระหว่างสงฆ์ในล้านนาด้วยกันเอง ดังกรณี ความขัดแย้งระหว่างครูบาศรีวิชัย กับพระครูมหารัตนากร เจ้าคณะแขวงลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นต้น

การต้องอธิกรณ์ระยะแรกของครูบาศรีวิชัยนั้น เกิดขึ้นเพราะ ครูบาศรีวิชัยถือธรรมเนียมปฏิบัติตามจารีตเดิมของล้านนา ส่วนเจ้าคณะแขวงลี้ ซึ่งใช้ระเบียบวิธีปฏิบัติของกรุงเทพฯ ซึ่งเห็นว่าครูบาศรีวิชัยทำหน้าที่พระอุปัชฌาย์โดยไม่ได้รับการอนุญาตจากเจ้าคณะแขวงลี้ จึงถือว่าเป็นความผิด เพราะตั้งตนเป็นพระอุปัชฌาย์เองและเป็นพระอุปัชฌาย์เถื่อน ครูบามหารัตนากรเจ้าคณะแขวงลี้กับ หนานบุญเติง นายอำเภอลี้ได้เรียกครูบาศรีวิชัยไปสอบสวนเกี่ยวกับปัญหาที่ครูบาศรีวิชัยเป็นพระอุปัชฌาย์บวชกุลบุตรโดยมิได้รับแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติ การจับกุมครูบาศรีวิชัยสามารถแบ่งช่วงเวลาออกเป็น ๓ ช่วง เนื่องจากเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเกือบ ๓๐ ปี และแต่ละช่วงจะมีรายละเอียดของสภาพสังคมที่แตกต่างกัน ( อ่าน ประวัติครูบาเจ้าศรีวิชัย กับข้อหาต้องอธิกรณ์ จากบทความ “ศูนย์รวมการถ่ายทอดจิตวิญญาณล้านนา” ในหนังสือ สืบสานล้านนา สืบต่อลมหายใจของแผ่นดิน พ.ศ.2542 วิลักษณ์ ศรีป่าซาง สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตภาคพายัพ)

ผลงานชิ้นสำคัญ

การสร้างถนนขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ แน่นอนทีเดียว การมีถนนขึ้นดอยสุเทพนั้น ย่อมมีคุณประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะผู้คนที่ศรัทธาจะได้ขึ้นไปไหว้พระธาตุอันสำคัญนี้ ได้ทั่วถึงกัน ครูบาศรีวิชัยนักบุญแห่งลานนาไทยนี่เองคือผู้สร้างถนนขึ้งสู่ดอยสุเทพ เมื่อปี พ.ศ. 2477 ซึ่งนับเป็นผลงานอันยิ่งใหญ่ที่สุด ในชีวิตของท่านอีกงานหนึ่ง

ไม่มีใครเชื่อเลยว่าจะสามารถสร้างถนนผ่านป่าเขาอันทุรกันดาร และสูงชันจนไปถึงที่เชิงบันไดนาคของวัดพระบรมธาตุดอยสุเทพได้ แต่ครูบาศรีวิชัยท่านทำได้ด้วยมือเปล่าๆ เพียงสองข้างอีกเช่นเคย แถมใช้เวลาเพียง 5 เดือน 22 วันเท่านั้น

ระยะเวลาแค่นี้กับการสร้างถนนขึ้นเขา ระยะทางยาว 11 กม. ในสมัยนั้นที่ยังไม่มีเครื่องจักรเครื่องยนต์ทุ่นแรงทันสมัย เหมือนทุกวันนี้ ครูบาศรีวิชัยท่านทำได้อย่างไร ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้น ทางฝ่ายบ้านเมืองได้พยายามที่จะสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพมาหลาย ครั้งหลายหน แต่ต้องประสบความผิดหวังทุกคราว เพราะไม่สามารถจะสร้างได้ ทั้งปัญหาจากงบประมาณ และความทุรกันดารของป่าเขาที่จะต้องตัดถนนผ่าน

ครูบาศรีวิชัยได้พิสูจน์คำเล่าลือของชาวบ้านและสานุศิษย์ที่นับถือท่าน ว่าเป็น "ต๋นบุญ" หรือ "ผู้วิเศษ" อย่างแท้จริง เพราะการสร้างถนนขึ้นสู่ดอยสุเทพนี้เอง อันนับว่าเป็นช่วงที่ชีวประวัติของนักบุญแห่งลานนาไทยมีอภินิหารมหัศจรรย์น่าทึ่ง น่าติดตามกันต่อไปอย่างยิ่ง

ใฝ่ฝันมานาน

หลวงศรีประกาศ (ฉันท์ วิชยาภัย)

ผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่

 

การสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ เป็นความใฝ่ฝันของชาวนครเชียงใหม่มานานปี ด้วยจะทำให้การขึ้นไปนมัสการพระบรมธาตุดอยสุเทพสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยปกตินั้นการจะขึ้นไปไหว้พระธาตุจะต้องตื่นแต่เช้าตรู่ นั่งรถจากเวียง ไปที่วัดสวนดอก จนถึงเชิงดอยสุเทพ ตามแนวถนนเชิงดอยสุเทพสายปัจจุบันแล้ว จากนั้นก็เดินขึ้นสุเทพ ซึ่งจะต้องใช้เวลานาน 5 ชั่วโมงเต็ม ในการเดินเท้าขึ้นเขา ส่วนคนมั่งมีก็อาจจะจ้างคนแบกหามขึ้นไปแบบผู้ที่ไปเที่ยวภูกระดึง หรือดอยขุนตาลในทุกวันนี้ อันนับว่าการขึ้นไปไหว้พระธาตุดอยสุเทพนั้นไม่ใช่สิ่งที่กระทำกันได้ง่ายๆ เลย ความคิดที่จะสร้างถนนขึ้นสู่ดอยสุเทพนั้นเริ่มมาแต่ปี พ.ศ. 2460 นั่นเอง

นิมิตเทวดา

ท่านครูบาศรีวิชัยยืนยันกับหลวงศรีประกาศว่า  "ต้องทำถนนขึ้นดอยสุเทพสำเร็จแน่ๆ ขอให้เชื่อเถิด" คุณหลวงไม่มั่นใจเลย จึงขอร้องให้ครูบาศรีวิชัยอธิฐาน ทบทวนอีกครั้งหนึ่ง ครูบาศรีวิชัยก็รับคำ ครั้นเวลาล่วงเลยไปอีกประมาณ 10 วัน หลวงศรีประกาศก็ไปพบครูบาศรีวิชัยที่วัดพระสิงห์เป็นครั้งที่สาม ครูบาศรีวิชัยก็ยังคงยืนยันว่า สร้างถนนขึ้นดอยสุเทพสำเร็จ พร้อมกับเล่านิมิตประหลาดที่เกิดขึ้น ให้หลวงศรีประกาศฟังว่า ในขณะที่กำลังทำการอธิษฐานเรื่องสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพว่าจะสำเร็จหรือไม่นั้น ท่านได้เคลิ้มไปว่าได้แลเห็นชีปะขาวองค์หนึ่งนำท่านเดินทางจากเชิงดอยไปจนถึงบันไดนาควัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ แล้วท่านก็ตกใจตื่น ท่านเชื่อว่านี้คือนิมิตที่เทวดามาบอกกล่าว ให้รู้ว่าจะสามารถสร้างถนนขึ้นสู่ดอยสุเทพได้อย่างแน่นอน

ขอ 6 เดือน

ครูบาศรีวิชัยได้รับปากว่าจะเป็นประธานในการสร้างถนนสายนี้ให้แล้วเสร็จภายในเวลาเพียง 6 เดือน นั่นทำให้หลวงศรีประกาศ ผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่หนักใจยิ่งขึ้น เนื่องจากบริเวณเชิงเขาขึ้นดอยสุเทพ จนถึงบันไดนาควัดพระธาตุนั้น เป็นป่าใหญ่และหุบเหวลึกหลายต่อหลายแห่ง การที่จะสร้างถนนได้นั้นต้องสำรวจทางแผนที่ จัดทำรายละเอียด เส้นทางที่จะสร้างและอื่นๆ อีกมาก หลวงศรีประกาศได้รับเป็นธุระเรื่องนี้ การสำรวจเส้นทางถนนสายนี้ใช้เวลาเป็นเดือนเลยทีเดียว ในที่สุดก็สำเร็จ หลวงศรีประกาศได้นำเอาแผนที่เสนอให้พระครูบาศรีวิชัย ดูแนวการสร้างถนน ซึ่งครูบาก็เห็นด้วย รวมระยะทางจากเชิงดอยสุเทพถึงบันไดนาควัดพระธาตุดอยสุเทพทั้งหมด 11 กิโลเมตร 530 เมตร

ใบปลิวเจ็กโหงว

ข่าวเรื่องครูบาศรีวิชัยจะสร้างถนนได้แพร่ออกไปเรื่อยๆ เป็นที่กล่าวขวัญกันทั่วไป ส่วนใหญ่แล้วเห็นว่า การสร้างถนนสายนี้ทำได้ยาก แต่บรรดาสานุศิษย์และผู้ใกล้ชิดพระครูทั้งหลาย ต่างเชื่อว่า ท่านสามารถทำได้อย่างแน่นอน ในจำนวนนั้นก็มีเจ๊กโหงวรวมอยู่ด้วย ทันทีที่เจ็กโหงวรู้ข่าว ก็รีบไปหาครูบาศรีวิชัยอย่างเคย ถึงแม้จะถูกลอบยิงปางตายมาแล้วก็ตาม ความช่วยเหลือสิ่งแรกของเจ็กโหงวก็คือ การพิมพ์ใบปลิวบอกข่าวเรื่องพระครูจะสร้างถนน โดยใช้เงินส่วนตัวพิมพ์ขึ้น 5 พันแผ่น แจกจ่ายทั่วไป ต่อมาเจ้าแก้วนวรัฐเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ก็มีศรัทธาช่วยพิมพ์อีก 5 พันแผ่นเช่นเดียวกัน ทำให้ข่าวแพร่ไปอย่างรวดเร็ว

จอบแรก

พิธีลงจอบปฐมฤกษ์สร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ เมื่อ 9 พฤศจิกายน 2477 โดยเจ้าแก้วนวรัฐ เป็นผู้ลงจอบปฐม​ฤกษ์

ครูบาศรีวิชัยได้กำหนดฤกษ์ที่จะลงมือขุดจอบแรกสำหรับการ สร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2477 และพิธีทางประวัติศาสตร์อันจารึกไว้คู่นครเชียงใหม่ก็เริ่มขึ้น ท่ามกลางประชาชนชาวเชียงใหม่และลำพูนเป็นจำนวนมาก

เริ่มสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ เมื่อ ๙ พฤศจิกายน ๒๔๗๗

เวลา 01.00 น. ของวันที่ 9 พระครูบาเถิ้มประกอบพิธีชุมนุมเทวดา บวง​สรวงอันเชิญเทวดาทั้ง 4 ทิศ

เวลา 10.00น. จึงเริ่มลงจอบแรก เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ทรงเป็นผู้ขุดจอบแรกเป็นปฐมฤกษ์ เริ่มต้นงานอันยิ่งใหญ่ครั้งนี้ ท่ามกลางเสียงสวดชยันโตชัยมงคลคาถา จากภิกษุสานุศิษย์ของท่านพระครูบาศรีวิชัย

หลังจากวันนั้นก็ได้มีประชาชน จากทั่วสารทิศมาช่วยกันสร้างถนน ร่วมเป็นอานิสงส์ พร้อมกับนมัสการท่านพระครูบาศรีวิชัยเป็นจำนวนมาก จนถึงกับต้องแบ่งพื้นที่การสร้างเป็นระยะๆ ในตอนเช้าก็ได้มีประชาชนนำเอาข้าวสาร อาหาร พืชผัก และอาหารคาวหวาน มาทำบุญกันอย่างล้นหลาม ยิ่งนานวันคนยิ่งทวีมากขึ้น ผลงานรุดหน้าในแต่ละวัน เป็นที่น่าอัศจรรย์ ต่างก็อยากทำบุญกุศลและชมบุญญาธิการบารมีของพระครูบาศรีวิชัย ในที่สุดถนนที่ทุกคนช่วยกันสร้างขึ้นก็สำเร็จลง ภายในระยะเวลา 5 เดือน 22 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่รวดเร็วมาก โดยไม่ต้องใช้งบประมาณ แผ่นดินเลยแม้แต่บาท​เดียว นี่คือบารมีของครูบาศรีวิชัยโดยแท้

รถยนต์คันแรก

รถยนต์คันแรกขึ้นได้เมื่อ ๓๐ เมษายน 2478

30 เมษายน 2478 คือวันประวัติศาสตร์วันหนึ่งของนครเชียงใหม่ เพราะเป็นวันเปิดถนนให้รถขึ้นดอยสุเทพเป็นครั้งแรก ในประวัติศาสตร์ ครูบาศรีวิชัย ครูบาเถิ้ม หลวงศรีประกาศ เถ้าแก่โหงวและบุคคลอื่นๆ ซึ่งมีส่วนร่วมในการสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ มาชุมนุมอยู่กันอย่างพร้อมพรั่งเพื่อรอเวลาที่เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่จะมาทำพิธีเปิดถนนขึ้นดอยสุเทพ และประทับรถยนต์ขึ้นดอยสุเทพเป็นคันแรก

ครั้นได้เวลา รถยนต์ของเจ้าแก้วนวรัฐก็แล่นมาถึงปะรำพิธีที่เชิงดอยสุเทพ ทรงจุดธูปเทียน บูชาพระรัตนตรัย และก็ประทับรถยนต์เรื่อยขึ้นไปตามถนนที่เพิ่งสร้างเสร็จ จนกระทั่งถึงเชิงบันไดนาควัดพระบรมธาตุวัดดอยสุเทพ ใช้เวลาประมาณ ชั่วโมงเศษตามสภาพถนนที่เป็นเพียงดินในครั้งนั้น

พิธีเปิดใช้ถนน เมื่อ 30 เมษายน 2478

ซึ่งครูบาศรีวิชัยและเจ้าแก้วนวรัฐ

นั่งรถขึ้นดอยเป็นครั้งแรก

เจ้าแก้วนวรัฐเสด็จขึ้นไปทรงนมัสการพระบรมธาตุดอยสุเทพ แล้วประทับรถยนต์เสด็จสู่นครเชียงใหม่ ดอยสุเทพก็มีถนนสำหรับรถยนต์ขึ้นไป นับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ถนนสายนั้นเมื่อสร้างเสร็จใหม่ ๆ มีชื่อว่า ถนนดอยสุเทพ ครั้นต่อมาก็ได้เปลี่ยนเป็นถนนศรีวิชัย เพื่อเป็นเกียรติแก่ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งลานนาไทยซึ่งเป็นประธานในการสร้างถนนสายนี้....

ครูบาศรีวิชัย เจ้าแก้วนวรัฐและพระภิกษุสงฆ์ ประชาชน

ถ่ายรูปเป็นที่ระลึกที่บันใดนาค เมื่อ 30 เมษายน 2478

การปฏิสังขรณ์วัดและปูชนียวัตถุทางพุทธศาสนากับการสร้างสิ่งสาธารณประโยชน์

ครูบาศรีวิชัยได้ชื่อว่าเป็นผู้ถือปฏิบัติเคร่งมาตั้งแต่เป็นสามเณร ดังเห็นว่าท่านเป็นผู้ที่มักน้อย ถือสันโดษ และเว้นอาหารที่มีเนื้อสัตว์เจือปน ตลอดจนงดกระทั่งหมาก เมี่ยง และบุหรี่ ทำให้คนทั่วไปเห็นว่าครูบาเป็นผู้บริสุทธิ์ที่มีลักษณะเป็น "ตนบุญ" คนทั้งปวงต่างก็ประสงค์จะทำบุญกับครูบาเพราะเชื่อว่าการถวายทานกับภิกษุผู้บริสุทธิ์เช่นนั้นจะทำให้ผู้ถวายทานได้รับอานิสงส์มาก เงินที่ประชาชนนำมาทำบุญก็นำไปใช้ในการก่อสร้างสาธารณประโยชน์และบูรณะศาสนสถานและศาสนวัตถุ

งานก่อสร้างดังกล่าวเริ่มขึ้นเมื่อปี ฉลู พ.ศ.๒๔๔๒ เดือน ๓ แรม ๑ ค่ำ ครูบาได้แจ้งข่าวสารไปยังศรัทธาทั้งหลายรวมทั้งชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ว่าจะสร้างวัดบ้านปางขึ้นใหม่ ซึ่งก็สร้างเสร็จภายในเวลาไม่นานนัก ให้ชื่อวัดใหม่นั้นว่า "วัดศรีดอยไชยทรายมูล" ซึ่งคนทั่วไปนิยมเรียกว่า "วัดบ้านปาง"

ขั้นตอนปฏิบัติในการไปบูรณปฏิสังขรณ์วัดมีว่า เมื่อครูบาได้รับนิมนต์ให้ไปบูรณปฏิสังขรณ์วัดใดแล้ว ทางวัดเจ้าภาพก็จะสร้างที่พักของครูบากับศิษย์ และปลูกปะรำสำหรับเป็นที่พักของผู้ที่มาทำบุญกับครูบา คืนแรกที่ครูบาไปถึงก็จะอธิษฐานจิตดูว่าการก่อสร้างครั้งนั้นจะสำเร็จหรือไม่ ซึ่งมีน้อยครั้งที่จะไม่สำเร็จ เช่นการสร้างสะพานศรีวิชัย ซึ่งเชื่อมระหว่าง อำเภอหางดง เชียงใหม่ กับอำเภอเมือง ลำพูน จากนั้นครูบาก็จะ "นั่งหนัก" คือเป็นประธานอยู่ประจำในงานนั้น คอยให้พรแก่ศรัทธาที่มาทำบุญโดยไม่สนใจเรื่องเงิน แต่มีคณะกรรมการช่วยกันรวบรวมเงินไปเป็นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ครูบาไป "นั่งหนัก" ที่ไหน ประชาชนจะหลั่งไหลกันไปทำบุญที่นั่นถึงวันละ ๒๐๐-๓๐๐ ราย คับคั่งจนที่นั้นกลายเป็นตลาดเป็นชุมชนขึ้น เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วก็จะมีงาน "พอยหลวง-ปอยหลวง" คืองานฉลอง บางแห่งมีงานฉลองถึงสิบห้าวัน และในช่วงเวลาดังกล่าวก็มักจะมีคนมาทำบุญกับครูบามากกว่าปกติ

เมื่อเสร็จงาน "พอยหลวง-ปอยหลวง" ในที่หนึ่งแล้ว ครูบาและศิษย์ก็จะย้ายไปก่อสร้างที่อื่นตามที่มีผู้มานิมนต์ไว้ โดยที่ท่านจะไม่นำทรัพย์สินอื่นใดจากแหล่งก่อนไปด้วยเลย ช่วงที่ครูบาศรีวิชัยต้องอธิกรณ์ครั้งที่สองและถูกควบคุมไว้ที่วัดศรีดอนชัย เชียงใหม่ เป็นเวลา ๓ เดือนกับ ๘ วันนั้น ผู้คนหลั่งไหลไปทำบุญกับครูบาไม่ต่ำกว่าวันละ ๒๐๐ ราย เมื่อครูบาได้ผ่านการพิจารณาอธิกรณ์ที่กรุงเทพฯ ซึ่งใช้เวลาอีก ๒ เดือนกับ ๔ วันแล้วครูบาก็เดินทางกลับลำพูนเมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ หลังจากนั้นผู้คนก็มีความศรัทธาในตัวครูบามากขึ้น

ครูบาศรีวิชัยเริ่มต้นการบูรณะวัดขณะที่ท่านอายุ ๔๒ ปี โดยเริ่มจากการบูรณะพระเจดีย์ม่อนไก้แจ้ จังหวัดลำปาง ถัดจากนั้นได้บูรณะเจดีย์และวิหารวัดพระธาตุหริภุญชัย ต่อมาได้ไปบูรณะเจดีย์ดอยเกิ้ง ในเขตอำเภอฮอด เชียงใหม่ จากนั้นไปบูรณะวัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา กล่าวกันมาว่าในวันที่ท่านถึงพะเยานั้น มีประชาชนนำเงินมาบริจาคร่วมทำบุญใส่ปีบได้ถึง ๒ ปีบ หลังจากนั้นมาบูรณะวัดพระสิงห์ เชียงใหม่ เป็นอาทิ รวมแล้วพบว่างานบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามของครูบาศรีวิชัยมีประมาณ ๒๐๐ แห่ง

วัดสวนดอก ปี ๒๔๖๙ ก่อนการบูรณะ

ในขณะที่ครูบาศรีวิชัยกำลังบูรณะวัดสวนดอกเชียงใหม่ใน พ.ศ.๒๔๗๕ อยู่นั้น หลวงศรีประกาศได้หารือกับครูบาศรีวิชัยว่าอยากจะนำไฟฟ้าขึ้นไปใช้บนดอยสุเทพ แต่ครูบาศรีวิชัยว่าหากทำถนนขึ้นไปจะง่ายกว่าและจะได้ไฟฟ้าในภายหลัง ทั้งนี้ทางการเคยคำนวณไว้ในช่วง พ.ศ.๒๔๖๐ ว่าหากสร้างทางขึ้นดอยสุเทพนั้นจะต้องใช้งบประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ บาท แต่ครูบาศรีวิชัยได้เริ่มสร้างทางเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๗ และเปิดให้รถยนต์แล่นได้ในวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๘ โดยไม่ต้องใช้งบประมาณเลย (ตามรายละเอียดที่กล่าวไว้แล้วในตอนต้น) ครั้นเสร็จงานสร้างถนนแล้ว ครูบาศรีวิชัยก็ถูกนำตัวไปสอบอธิกรณ์ที่กรุงเทพฯ อีกเป็นครั้งที่สอง และงานชิ้นสุดท้ายของท่านที่ไม่เสร็จในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ก็คือสะพานศรีวิชัยอนุสรณ์ ทอดข้ามน้ำแม่ปิงเชื่อมอำเภอหางดง เชียงใหม่ กับอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

ในการก่อสร้างต่าง ๆ นับแต่ พ.ศ.๒๔๖๓ ถึง ๒๔๗๑ มีผู้ได้บริจาคเงินทำบุญกับท่าน ประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ รูปี คิดเป็นเงินไม่น้อยกว่าสามหมื่นห้าพันบาท รว

 
ราคาเปิดประมูล :
 50 บาท
ราคาสูงสุด ขณะนี้ :
 200 บาท
ราคาที่ต้องเพิ่มขึ้น ขั้นต่ำ :
 100 บาท

เงื่อนไขการรับประกัน :
 แท้ 100 % เก๊ยินดี คืนเงินเต็ม

ผู้ตั้งประมูล :
 chondan jamroon
ที่อยู่ :
 170 หมู่ที่ 2 ต.บ้านกาศ อ.สูงเม่น จ.แพร่ 54130 ประเทศไทย

เบอร์โทรติดต่อ :
  0860458348, 0860458348
E-mail :
 chon_dan@windowslive.com

ชื่อบัญชี :
 นายชนแดน จำรูญ
เลขที่ บัญชี :
 1164372599
ประเภท บัญชี :
 ออมทรัพย์
ธนาคาร :
 ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
สาขา :
 บางลำพู

วันที่ :
 Thu 24, Jan 2013 20:10:36
โดย : chondan    [Feedback +10 -0] [+5 -0]   Thu 24, Jan 2013 20:10:36
 
 

 

ขอบคุณพี่ๆที่ให้ราคางามๆครับ  เราดีใจมากๆ ที่คุณเคาะเข้ามา  ( ทุกคนมีสิทธิ์เคาะได้ รับประกันไม่ถูกต่อว่าหรือด่าท้อ เพราะคุณเป็นคนสำคัญของเราตลอด ) ยังไม่ได้ทุนเลยครับ   ขออนุญาตไปต่ออีกนิดหน่อยนะครับ

 
โดย : chondan    [Feedback +10 -0] [+5 -0]     [ 3 ] Fri 25, Jan 2013 23:03:49

 

081 5955468

 
ราคาประมูล : 200 บาท
 
โดย : option_59    [Feedback +11 -0] [+0 -0]     [ 2 ] Fri 25, Jan 2013 15:47:09









 

เพิ่มเติมรูปให้พิจารณา 2 รูป

 
โดย : chondan    [Feedback +10 -0] [+5 -0]     [ 1 ] Thu 24, Jan 2013 20:12:10

 
ประมูล ครูบาศรีวิชัย รุ่นสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ๙ พ.ย. ๒๔๗๗ ( สร้าง ปี 2539 ) พร้อมกล่องเดิมๆ : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.