พระสกุลลำพูน
พระรอดพิมพ์ใหญ่กรุเก่าวัดมหาวันจ.ลำพูนเนื้อดินนุ่มจัด(เนื้อดินนุ่มละเอียดเเก่ว่าน)เนื้อดูง่ายงาม
(ปิดการประมูลแล้ว)
|
|
ชื่อพระ :
พระรอดพิมพ์ใหญ่กรุเก่าวัดมหาวันจ.ลำพูนเนื้อดินนุ่มจัด(เนื้อดินนุ่มละเอียดเเก่ว่าน)เนื้อดูง่ายงาม
รายละเอียด :
๛"..~(^-^)~>>>บุรีรมเยศเเล้ว เลินถขอ.....คือข่ายบนบัวกอ กีบตั้ง.....สี่มุขเมฆมุ่งหอ เลยเลิศงามเเฮ.....ทวารเขื่อนขืนเเข่งขั้ง ข่ามข้าศึกสลงฯ@@@@@ (โคลงนิราสหริภุญชัยฉบับหอสมุดวชิรญาณ)พระรอด กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน ได้ชื่อว่าเป็นพระพิมพ์ที่มีอายุสูงสุดในทำเนียบพระชุดเบญจภาคีและในทางพุทธศิลป์กำหนดได้ว่าเป็นพระพิมพ์สกุลสูงที่มีความงดงามอลังการเหนือกว่าพระพิมพ์อื่นใด ในด้านอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ก็ได้แสดงความอัศจรรย์ให้ผู้ใช้บูชาได้ประจักษ์เป็นที่เรื่องลือมานานนับร้อยปี ตำนานการสร้างมีหลักฐานกล่าวไว้เป็นพระพิมพ์ที่สร้างไว้ในสมัยพระนางจามเทวี เมื่อครั้งขึ้นจากเมืองละโว้ไปสร้างเมืองหริภุญไชย ในราวปีพ.ศ.๑๒๐๐ในคราวสร้างพระอารามขึ้นไว้ประจำสี่มุมเมือง เพื่อให้เป็นพุทธปราการ โดยมีพระฤๅษี ๔ ตนเป็นผู้ดำเนินการ เเละพระฤๅษี ๔ ตนยังเคย ได้บวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาแต่ต่อมาได้ลาสิกขามาครองเพศฆราวาส แต่ภายหลังได้มองเห็นภัยในกามคุณจึงพากันออก ประพฤติพรตเป็นพระฤๅษี จนได้บรรลุคุณวิเศษขั้นสำเร็จอภิญญา ๕ สมาบัติ ๘แยกพำนักอยู่ในที่ต่างๆพุทธวัตถุอารักขาสถาปานาโดยพระนางจามเทวี (จตุรพุทธปราการพระศักรพุทธปฎิมาสกุลลำพูน) ผู้มาจากดอยอ้อย(ดอยสุเทพ)เบื้องทิศเหนือของกรุงหริภุญชัย คือ พระสุเทวฤาษี ผู้สร้างพระคง ผู้มาจากดอยธัมมิก(เขาสมอคอนอยู่ริมเเม่น้ำลพบุรี)เบื้องทิศใต้ ของกรุงหริภุญชัย คือ พระสุกกทันตฤาษี ผู้สร้างพระเลี่ยง เเละพระ ฦาฯลฯ ผู้มาจากดอยงาม(ริมฝั่งน้ำวังกะนทีเมืองนครจ.ลำปาง)เบื้องทิศตะวันออกของกรุงหริภุญชัย คือ พระสุพรหมฤาษี ผู้สร้างพระบาง พระเปิม,พระสาม,พระเเปด,พระสิบสองเเละพระเปื่อยฯลฯ ผู้มาจากดอยลังกา(อินทนนท์)ป่าใหญ่เบื้องทิศตะวันตกของกรุงหริภุญชัย คือ พระสุมณนารทะฤาษีฤาษี ผู้สร้างพระรอด <<<๑๑๑ >>พระรอดพิมพ์ใหญ่เทวีเเห่งนิรันตรายเนื้อดินนุ่มจัดกรุเก่าวัดมหาวัน จ.ลำพูน เห็นว่านดอกมะขามชัดเจนเนื้องามซึ่งตาผิวดีมีเงาสว่างว่านดอกมะขามคือสารเคมีชนิดหนึ่งในเนื้อว่านเรียกว่าเเอนโทไซอานิน(Anthocyanin)ซึ่งเป็นพืชที่มีอาถรรพ์ที่ต้องโฉลกกับอำนาจกฤตยาพระรอดเป็นพระพุทธปฏิมาปางมารวิชัย-ขัดเพชรห่มดองประทับนั่งเหนือพระอาสานะเเละผิงผนังโพธิบัลลังก์เเสดงถึงปางตรัสรู้อนุตรสัมโพธิญาณ ส่วนด้านหล้งนั้น บางองค์มีลักษณะนูนบ้างแบนบ้างพุทธานุภาพเอกอุทางด้าน นิรันตราย และเมตตามหานิยมครับ๛"..~(^-^)~>> ...PhraRod WatMahawan Lamphoon Province With special Anthocyanin***"PhraRod"*** is Amulets which made since B.E.1200 founded in Lumpoon province by Hermit. as the same time with Phra Perm, Phra Bang, Phra Khong and Phra Leang . Once people found this amulets at Wat Mahawan, they start to call "Phra Rod". These amulets were given among thailand soldiers and people. Phra Rod are smooth clay have white, red, green, brown colours. From Wat Mahawan, PhraRod is one of most famous 5 amulets from Thailand. The amulets bless strong protection, bullet proof and the oldest amulets in the set of Benjapakee. The Buddha amulets of Lampoon is PhraRod it is one of the best and dearly . Phra Rod of Kru Wat Mahawan Lampon is the Buddha maulet with the mixed material of earth and tuberous plants. made by the craftman of haripoonchai in the art style of early Lopburi period. Beating particularly unique beauty of their own.especially power in good fortune and Charming second to name of being safe from all danger and disasters. PhraRod WatMahawan is one of the FiveGrand set with PhraSomdej Wat Rakhang as the head, and with other 3 Buddha amulets, namely. Phra Gumpangpeth Soomgor, PhraPhongsuparn, PhraNangphya Phitsanulok. ........."<<<..~(^-^)~๛ ~~~~ Mr. Doungtib Kayan**Bankgok Bank (Branch - Hangdong)459-036-2127 Phone :...66(0)86-1840921 Email : lannaden@hotmail.com ************************ประวัติ ตำนานพระรอด วัดมหาวัน *****ตำนาน วัดมหาวัน***** ในอดีตกาล เมื่อประมาณพันสองร้อยปีล่วงมาแล้ว คือราว พ.ศ. 1200 เศษ ครั้งกระนั้น เมืองลำพูน หรือที่เรียกกันว่า หริภุญชัยนคร หาได้เป็นเช่นปัจจุบันนี้ไม่ยังคงเป็นป่าดงพงไพร เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ร้ายนานาชนิดเจ้าของถิ่นเดิมผู้ตั้งรกรากถิ่นฐานอยู่ใน แถวนี้ได้แก่พวกเม็ง (บางแห่งว่าขอมหรือละว้า) ซึ่งอาศัยอยู่กันประปรายทั่วไปในบริเวณรอบ ๆ เวียงหริภุญชัยปัจจุบันหลักฐานทางตำนานได้กล่าวไว้ว่า สมัยนั้นยังมีฤาษีสองตน นามว่า วาสุเทพฤาษี หรือ สุกกทันตฤาษี ซึ่งทั้งสองเป็นสหายกันได้ปรึกษาหารือตกลงกันที่จะช่วยสร้างเมืองใหม่ โดยเลือกสถานที่ ได้ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำกวง (สมัยนั้นคงเป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำปิง) เมื่อ ช่วยกันสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ยังไม่มีผู้จะครอบครองเมือง ฤาษีทั้งสองจึง ตกลงกันให้ไปอัญเชิญพระนางเจ้าจามเทวีราชธิดาของพระเจ้าลพราช เมืองรามะบุระขึ้นมาปกครองเมือง จึงได้ให้ควิยะบุรุษเป็นทูตไปอัญเชิญพระนางจามเทวีด้วยความเห็นชอบของพระราชบิดา พระนางจึงได้เสด็จมาตามคำอัญเชิญก่อนที่จะเสด็จมาได้ทูลขอสิ่งต่าง ๆ จากพระราชบิดา เป็นต้นว่า พระสงฆ์ ผู้ทรงไตรปิฏก 500 รูป พราหมณาจารย์ โหราราชบัณฑิต แพทย์และช่างต่าง ๆ อย่างละ 500 คน เศรษฐี คหบดีก็ 500 คน ทั้งนี้เพื่อให้สำเร็จประโยชน์ และสะดวกสบายใจในการขึ้นครองเมืองใหม่ เมื่อพระเจ้าลพราชพระราชทานอนุญาตให้ตามประสงค์พระนางพร้อมด้วยข้าราชบริพารก็ทูลลาพระราชบิดา และพระราชสวามี ภายหลังทรงออกผนวช (ขณะนั้นพระนางจามเทวีทรงครรภ์ได้ 3 เดือน จากจามเทวีวงศ์พงศาวดาร เมืองหริภุญชัย) แล้วเสด็จขึ้นมาทางชลมารค (ทางแพ) จนเวลาล่วงไป 7 เดือนก็บรรลุถึงนครหริภุญชัย หรือนครลำพูน (จากหนังสือจามเทวีวงศ์บอกว่า เมือถึงนครหริภุญชัยได้ 7 วัน ก็ประสูติพระโอรสฝาแฝดทั้งสองพระองค์ นามว่าอนันตยศ และ มหันตยศ) หลังจากนั้น พระวาสุเทพฤาษี และสุกกทันตฤาษีพร้อมด้วยประชาชนพลเมืองจึงไดพร้อมใจกันจัดพิธีราชาภิเษก พระนางจามเทวีขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์ เสวยราชสมบัติในเมืองหริภุญชัยนครบนแท่งทองสุวรรณอาสน์ นับตั้งแต่นั้นมาเมืองลำพูนจึงได้สมญานามว่า เมืองหริภุญชัยนคร เมือพระนางจามเทวีได้เสวยราชสมบัติขึ้นเป็นกษัตริย์ครองเมืองแล้ว จึงได้โปรดชักชวนอาณาประชาราษฏร์ให้สร้างพระอารามใหญ่น้อย ถวายแต่พระรัตนตรัยเพื่อไว้พำนักอาศัยของบรรดาพระภิกษุสงฆ์ 500 รูป ที่ได้อาราธนามาจากเมืองละโว้ แล้วก็อุปถัมป์บำรุงเอาใจใส่ด้วยจตุปัจจัย มิได้ขาดตลอดมา บรรดาวัดทั้งหลาย ที่สร้างขึ้นนั้นนนับเป็นมหาวิหาร มี 5 วัดด้วยกันคือ 1. วัดอรัญญิกรัมมาราม อยู่ด้านตะวันออก ปัจจุบันเรียกว่า วัดดอนแก้ว รวมกับวัดต้นแก้ว 2. วันมูลการาม อยู่ทางทิศใต้ได้แก่ วันกู่ละมัก (ลมักกัฏฐะ) ปัจจุบันเรียกว่า วัดรมณียาราม 3. วัดอาพัทธาราม อยู่ด้านทิศเหนือ ปัจจุบันเรียกว่า วัดพระคงฤาษี 4. มหาลดาราม (โยนก ว่า มหาสฐานราม) อยู่ด้านทิศใต้ ปัจจุบันเรียกว่า วัดสังฆาราม หรือ วัดประตู่ลี้ 5. วัดมหาวนาราม อยู่ด้านทิศตะวันตก ปัจจุบันเรียกว่า วัดมหาวัน เมื่อได้สร้างวัดทั้ง 5 แล้ว พระนางจามเทวีได้สร้างพระพุทธรูปน้อยใหญ่ไว้เป็นจำนวนมาก วัดทั้ง 5 แห่งจึงเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างดี ทั้งนี้เพราะพระนางเจ้าทรงเอาใจใส่ และมีศรัทธาเลื่อมใส่ในพระบวรพุทธศาสนายิ่งนักเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภกหริภุญชัยนครครั้งกระนั้น จึงมีความเจริญรุ่งเรือง บ้านเมืองก็อยู่ร่มเย็นเป็นสุข อุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหารมีความเบิกบานทั่วหน้า วาสุเทพฤาษี หรือสุภกทันตฤาษี จึงได้ปรารภกันว่า เมืองลำพูน หรือหริภุญชัยนครนี้มีสตรีเป็นเจ้าผู้ครองนครในอนาคตข้างหน้า อาจมีผู้คิดเบียดเบียนแย่งชิงราชสมบัติไป ฤาษีทั้ง 2 จึงได้ปรึกษาหารือที่จะจัดสร้างเครื่องรางของขลังไว้เพื่อเป็นที่สักการบูชาป้องกันรักษาบ้านเมือง และเพื่อเป็นพุทธบูชา จะได้เป็นขวัญและกำลังใจแก่เหล่าเสนาอำมาตย์ และอาณาประชาราษฎร์ จึงผูกอาถรรพ์ไว้ตรงใจกลางเมือง แล้วจัดหาดินลำพูดทั้ง 4 ทิศ พร้อมด้วยว่าน 1,000 ชนิด และเกสรดอกไม้ มาผสมเข้าด้วยกันกับเวทย์มนต์คาถาแล้วคลุกเคล้ากันจนเข้ากันดีแล้ว (พระคง) จัดสร้างพิมพ์พระขึ้น 2 ชนิด ชนิดหนึ่งเรียกว่า พระคง เพื่อความมั่นคงของนครหริภุญชัย อีกชนิดเรียกว่า “พระรอด” เพื่อความอยู่รอดพ้นจากพยันตรายทั้งปวงนานัปปการอันอาจเกิดขึ้นได้ เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็สุมไฟด้วยไม้มะฮกฟ้า หรือป่ารกฟ้า ไม้ชนิดนี้ปัจจุบันยังมีอยู่ และมีเฉพาะในภาคเหนือเท่านั้นในตำนานเล่าว่าฤาษีทั้ง 2 สุมไฟนานเจ็ดวันเจ็ดคืน แล้วนำพระคงที่เผาแล้วไปบรรจุไว้ที่วัดคงฤาษี พระอื่น ๆ บรรจุไว้ในเจดีย์ของวัดต่าง ๆ ทั้ง 4 ทิศเพื่อเป็นการผูกอาถรรพ์ นำพระรอดบรรจุไว้ใจกลางเมือง คือ วัดมหาวนาราม หรือ วัดมหาวัน ในปัจจุบัน เป็นที่น่าสังเกตว่าเมืองหริภุญชัยนคร หรือเมืองลำพูน มิเคยมีการถูกรุกรานจากข้าศึก ไพร่ฟ้าประชาชนก็มิต้องหอบเสือหมอนพเนจรไปไหนเหมือนกับชาวเมืองอื่น ๆ สำหรับวัดมหาวัน ถือเป็นอารามหลวงในสมัยพระนางเจ้าจามเทวี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองลำพูน พื้นที่ติดกับด้านหลังที่ว่าการอำเภอเมืองลำพูนเดิม (ปัจจุบันที่ว่าการอำเภอย้ายไปตั้งที่บ้านเวียงยองหน้าวัดพระยืน) วัดมหาวัน มีเนื้อที่ 5 ไร่ 62 วา ห่างจากตัวเมืองลำพูนประมาณ 70 เมตร เดิมชื่อวัดมหาวนาราม สร้างขึ้นราว พ.ศ. 1200 เศษ ในรัชสมัยพระนางเจ้าจามเทวี วัดนี้ได้เจริญรุ่งเรืองมาโดยลำดับ และเจริญมาหลายชั่วกษัตริย์ กาลต่อมาได้ร้างไปเพราะศึกสงคราม ช่วงเวลานี้จะร้างไปกี่ปีไม่มีหลักฐาน ปรากฏชัดเจน จนถึงสมัยพระยาสรรพสิทธิ์ โอรสของพระยารถราช พระองค์ได้เข้าไปบรรพชาเป็นสามเณรจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ในราว พ.ศ. 1620 จึงได้เป็นประธานบูรณะซ่อมแซมพระเจดีย์ และสร้างพระพุทธรูปใหญ่ไว้องค์หนึ่งปัจจุบันพระพุทธรูปองค์นี้เป็นประธานอยู่ในวิหาร (จากคำบอกเล่าสืบ ๆ กันมา) และได้ขนานนามวัดนี้ว่า วัดมหาวัน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา วัดมหาวัน จึงเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้ง ในกาลต่อมาวัดนี้ ได้ร้างไปอีกเป็นระยะเวลาหลายร้อยปี จนถึงราว จ.ศ. 1184 หรือ พ.ศ. 2365 จึงได้มีพระภิกษุสามเณรมาจำพรรษาอีก ซึ่งมีท่านอินทรภิกษุเป็นเจ้าอาวาสได้ชักชวนศรัทธาประชาชนช่วยกันแผ้วถาง พอมีสถานที่อยู่ได้ แต่ก็ยังเป็นป่าอยู่ครั้งกาลต่อมาในราว จ.ศ. 1192 หรือ พ.ศ. 2373 มีท่านอริยวังโส (จากมูลฤกษ์จักขวานวุตติท่านอริยวังโสจารไว้) ได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสสืบมา แต่วัดนี้ก็ยังเป็นสถานที่รกร้างอยู่มาก เพราะเป็นป่าไม้สีเสียดเป็นหลุมเป็นบ่อ วัดจึงไม่เจริญ ต่อมาในราว จ.ศ. 1213 หรือ พ.ศ. 2394 สมัยของท่านพระครูบาอุปนันท์ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ท่านได้ชักชวนคณะศรัทธา ซึ่งมีแม่เฒ่าเรือนคำ เป็นหัวหน้าช่วยกันปรับพื้นที่ของวัดให้ราบเรียบ เท่าที่จะทำได้ แล้วได้พัฒนาวัดสร้างอุโบสถ วิหาร ศาลา กำแพงขึ้น แล้วกลับไปใช้ชื่อเดิมว่า วัดมหาวนาราม อีกครั้งหนึ่ง ในสมัยนั้น วัดมหาวันเจริญขึ้นทั้งด้านวัตถุ และด้านการศึกษานั้น มีหลักฐานจากพระคัมภีร์ต่าง ๆ ที่ท่านพระครูบาอุปนันท์ได้จารึกไว้ เช่น ทศนิบาต วีสนิบาตร จตุกนิบาต บาลีไวยากรณ์ธรรมบทยกศัพท์ มลคลทีปนี สารัตถทีปนีสมัยตปาสาทิกา เป็นต้น และยังมีพระคัมภีร์อื่น ๆ อีกมากมายปัจจุบันอยู่ที่หอพระไตรปิฏกวัดมหาวันทั้งหมดจาก พระคัมภีร์เหล่านี้จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า การศึกษาสมัยท่านครูอุปนันท์นั้นเจริญมาก อนึ่งในปี พ.ศ. 2415 ท่านพระครูอุปนันท์ก็ยังได้เป็นเจ้าศรัทธาสร้างพระพุทธไสยาสน์ขึ้น ที่วัดพระธาตุหริภุญชัยปัจจุบันอยู่หน้าวัดพระธาตุคณะหลวง สิ้นค่าก่อสร้างทั้งหมด 800 บาท สมัยต่อมา มีเจ้าอาวาส หรือสมภารสืบ ๆ กันมาอีกหลายองค์ คือ พระครูบาเป็ง ท่านครูบาคันธา ท่านครูบาฟู ในสมัยของท่านครูบาฟู วัดมหาวันได้กลับมาเจริญขึ้นอีกครั้งหนึ่งและเจริญทุกด้าน ทั้งการปกครอง การศึกษา การเผยแผ่ การสาธารณูปการ จนพระคุณท่านได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะ (เจ้าคุณ) ชั้นสามัญ ในราชทินนามที่พระญาณมงคลสกลหริภุญชัยคณาจารย์สังฆปาโมกข์ และได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดลำพูนที่เป็นพระราชาคณะ (เจ้าคุณ) องค์แรกด้วย ดังนั้น วัดมหาวัน จึงได้เจริญขึ้นอย่างรวดเร็วทุกด้านด้วยความชาญฉลาดของพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระญาณมงคล (ครูบาฟู) นั่นเอง การปกครอง พระเดชพระคุณท่านฯ ได้จัดระเบียบการปกครองภายในวัดเป็นอย่างดี ตลอดจนระเบียบการปกครองคณะสงฆ์จังหวัด ในสมัยนั้นเป็นอย่างดี จนเป็นแบบอย่างที่ดีมาจนถึงปัจจุบันนี้ การสาธารณูปการ ในปี พ.ศ. 2465 ท่านได้บูรณะวิหารวัดมหาวัน และซ่อมแซมเจดีย์ ซึ่งปรักหักพังเป็นเวลานานโดยหานายช่างชาวพม่ามาปฏิสังขรณ์ ต่อมาได้ก่อสร้างกุฏิและศาลาบาตร (ศาลาวิหารคต) และสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมขึ้นอีกหลัง และในปี พ.ศ. 2471 ท่านได้เป็นประธานเชิญชวนศรัทธาของวัดมาร่วมกันสร้างอุโบสถขึ้นอีก 1 หลัง และในปี พ.ศ. 2473 ท่านได้เป็นประธานสร้างหอพระไตรปิฏกขึ้นอีก (ท่านได้ถึงแก่มรณภาพหลังจาก ฉลองหอพระไตรปิฏกแล้ว) และท่านได้เปลี่ยนชื่อวัดกลับมาเป็นวัดมหาวันอีกครั้งหนึ่ง สมัยนั้นทางวัดได้ศรัทธาที่ให้ความอุปภัมภ์อย่างแข็งแรงหลายท่าน เช่น เจ้าพ่อบุรีรัตน์ เจ้าแม่สุณา ณ ลำพูน แม่กุย โค้วเคียมเอียะ เจ้าแม่แขกแก้ว ณ ลำพูน ชายาของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครหริภุญชัยองค์สุดท้ายเป็นต้น วัดมหาวันใช่แต่จะมีความสำคัญเพราะเป็นพระอารามหลวงของพระแม่เจ้าจามเทวีปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญชัย หรือลำพูนเท่านั้นยังสถานที่บรรจุพระรอดที่ลือชื่อไปทั่วทุกแห่ง จนเป็นที่รู้จักกัน คือพระรอดลำพูน เป็นวัดต้นกำเนิดพระรอด ก่อนที่จะเล่าตำนานจึงขอนำท่านไปยังสถานที่บรรจุพระรอดก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อให้ทราบเรื่องราว หรือตำแหน่งแห่งหนว่าพระรอดบรรจุอย่างไร ณ สถานที่วัดมหาวันที่ตั้งอยู่ในปัจจุบันได้มีเล่าสืบ ๆ กันมาว่าสมัยโน้นก่อนจะมีคนสร้างวัดขึ้นอีกครั้งหนึ่งนั้นโบราณวัตถุของเก่า ๆ ได้เหลือปรากฏอยู่แต่ในเจดีย์มีเครือเถาวัลย์ปกครุมไปหมด แทบมองไม่เห็น (เจดีย์องค์นี้ได้ปรักหักพังไปเหลือแต่ฐานได้สร้างเจดีย์ใหม่ ที่อยู่หลีงพระวิหารในปัจจุบันครอบไว้ฐานเก่า เป็นศิลาแลงยาวขนาดก้อนละ 1 เมตรหนาประมาณ 12 นิ้วอย่างเดียวเท่านั้นนอกนั้นไม่มีสิ่งใดปรากฏเหลืออยู่เลย เจดีย์ได้ปรักหักพังลงเมื่อใดไม่มีใครทราบ ตามหลักฐานตามตำนานได้กล่าวไว้ว่าเจดีย์องค์นี้แหละเป็นสถานที่บรรจุพระรอด เพราะเหตุที่เจดีย์ได้ปรักหักพังลง พระรอดจึงได้กระจัดกระจายไปในที่ต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงสันนิษฐานกันว่ายอดพระเจดีย์คงปรักหักลงไปทางทิศตะวันตก เพราะได้มีผู้ขุดพบยอดพระเจดีย์ ซึ่งเป็นศิลาแลงในทางทิศนั้น อนึ่งมีผู้ขุดค้นพบพระรอดได้จำนวนมาก ทางทิศนั้น ซึ่งนับว่ามีมากกว่าทิศอื่น ๆ จนสถานที่ขุดพบพระรอดกลายเป็นบ่อน้ำในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามในสมัยก่อนหามีผู้คนสนใจไม่ พึ่งมาตื่นตัวกันทีหลัง ต่อมาจึงมีการขุดค้นกันเรื่อยมาปัจจุบันจึงขุดหาได้ยากมากเกือบจะกล่าวได้ว่า หาไม่พบเลยก็ได้ ในบริเวณวัดเพราะแต่ละแห่งทั่วบริเวณวัดขุดกันแล้วขุดกันอีก นับไม่ถ้วน ซ้ำ ๆ ซาก ๆ คงเหลืออยู่บ้างก็บริเวณที่มีสิ่งปลูกสร้างตั้งอยู่เท่านั้น อย่างไรก็ตามสักขีพยานของพระรอดก็ยังเหลือปรากฏอยู่คือ ของเก่าแก่ ได้แก่ พระรอดหลวง หรือคนทั่วไปชอบเรียกว่า แม่พระรอด พระรอดหลวงนี้เป็น หินทรายและสลักหน้าตัก 17 นิ้ว สูง 16 นิ้ว ประดิษฐานอยู่ในวิหารบนแท่นแก้วหน้าพระประธาน มีงาช้างครอบอยู่ (ผู้สนในโปรดไปชมได้ เพื่อนมัสการ พระรอดหลวง) พระองค์นี้ขุดได้จากพื้นดินพร้อมกับโบราณวัตถุอื่น ๆ เช่นศิลาแลงจารึกอักษรขอม เป็นต้น และเป็นวัตถุโบราณชิ้นเดียวที่มีอยู่ในวัดมหาวันจนถึงปัจจุบัน นับเป็นโบราณวัตถุ ที่สำคัญคู่วัดมหาวันและคู่บ้านเมืองลำพูนชื่อจริงเรียกกันคือ พระพุทธสักขีปฏิมากร ทำด้วยกาฬศิลา ตามที่มาในชินกาลมาลินี อนึ่งพระรอดนี้มีขนาดกลายอย่างต่าง ๆ กันนับตั้งแต่ชนิดที่ใหญ่สุดคือ พระรอดหลวงโตเท่า ๆ กับพระคง มีขนาดเท่ากับหัวแม่มือ นอกนั้นก็เรียงกันมาตามลำดับจนถึงขนาดเล็กที่สุด เล็กเท่าใบมะขาม สีพระรอดนั้นมีมากสีด้วยกัน เช่น สีแดงเข้ม สีแดงเรื่อ ๆ สีดอกจำปา สีเทา (สีมอย) และสีดำ เป็นต้นการกำหนดสีไม่ค่อยจะแน่นอนนัก ทั้งขนาดใหญ่ กลาง และเล็กมีคละปะปนกันไป ถ้ามีขาวหรือสีแดง สีมะขามเปียกส่วนใหญ่เนื้อยุ้ย (ผุ) ถ้าสีดำ หรือสีเขียวเนื้อจะแกร่ง (สีมะขามเปียก สีดอกจำปา สีเขียวแมลงภู่) หาได้ยาก อย่างไรก็ดีเป็นที่น่าสังเกตุว่าทุกชนิดมีเนื้อดินละเอียดด้วยกันทั้งนั้นเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะและแบบพิมพ์ก็ทำนองเดียวกันเท่าที่เคยเห็นและขุดพบ ปรากฏว่าไม่ซ้ำแบบกันจึงถือเอาเป็นที่ยุติแน่นอนไม่ได้ ว่ามีกี่พิมพ์กี่แบบกันแน่ หลักฐานทางตำนานเองก็ไม่ได้กล่าวไว้ แต่บางท่านก็กล่าวว่ามีเพียงสามแบบด้วยกันคือ แบบพิมพ์ยาว แบบแบน และแบบที่ได้สัดส่วนอย่างไรก็ตามเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะด้านหน้าขององค์พระเป็นรูปปางมารวิชัยไม่มีลวดลายและใบโพธิ์อย่างพระคง ไม่อยู่ในเรือนแก้วอย่างพระเลี่ยมองค์พระจะเห็นพระเนตรอย่างโขนง เด่นชัดชนิดธรรมชาติ ไม่ใช่เอาเหล็กแหลมขีดเขียนเอาพระอุระนูน บางพิมพ์ ด้านหลังนูนเล็กน้อยคล้ายหลังเบี้ย (ริมสองข้างลดต่ำ กลางนูน) บางพิมพ์ข้างหลังตรงบางพิมพ์ หลังเอนไม่เกลี้ยงเกลานัก มีรอยนิ้วมือมือติดอยู่มากบ้างน้อยบ้าง ใต้ฐานพระไม่เรียบเสมอไป บางองค์ลึกบุ๋มเข้าไป บางองค์ก็นูนยื่นออกมา เกี่ยวกับชื่อ ครั้งแรกนั้นไม่ปรากฏชื่อ คงเรียกรวมกันว่าพระพิมพ์ชนิดดินเผา ต่อมาภายหลังเมื่อมีผู้ขุดพบและนำไปใช้กราบไหว้สักการบูชาก็เลยกลาย มีชื่อเป็นอย่าง ๆ ไป สำหรับพระรอดนั้นมีข้อที่จะพึงสันนิษฐานเกี่ยวกับชื่อได้ 3 ทาง คือ ทางแรกกล่าวกันว่าพระพิมพ์ชนิดนี้ฤาษีนารอด(นารท) เป็นผู้สร้างจึงได้นาม ตามที่ผู้สร้างว่า พระรอด ทางที่สองเนื่องจากพระพิมพ์ชนิดนี้ได้มีผู้นำไปสักการะบูชา และนำพาติดตัวไปยังที่ต่าง ๆ ปรากฏว่าผู้ที่นำไปนั้นได้รับความปลอดภัยรอดพ้นจากสรรพอุปัทยันตรายได้ เป็นอย่างดี ดังนั้นต่อมาจึงได้มีชื่อว่า พระรอด ประการสุดท้ายเพราะค่าที่พระพิมพ์ชนิดนี้มีองค์เล็กกว่าพระชนิดอื่น จึงเป็นผลพลอยให้ได้นามว่า พระรอด อย่างไรก็ตามทั้ง 3 อย่าง ดังที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นข้อสันนิษฐานจึงขอฝากไว้ให้เป็นหน้าที่ของนักค้นคว้าโบราณวัตถุสืบต่อไปว่าอันไหนจะถูกกันแน่ คัดลอกจาก หนังสือตำนานวัดมหาวัน |
ราคาเปิดประมูล :
10000 บาท
ราคาสูงสุด ขณะนี้ :
10000 บาท
ราคาที่ต้องเพิ่มขึ้น ขั้นต่ำ :
1000 บาท
ผู้ตั้งประมูล :
ดวงติ๊บ ขยัน
ที่อยู่ :
20/3 ม.10 ต.บ้านปง อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ไทย
เบอร์โทรติดต่อ :
0861840921, 0861840921
E-mail :
denlanna@hotmail.com
ชื่อบัญชี :
นาย ดวงติ๊บ ขยัน
เลขที่ บัญชี :
4590362127
ธนาคาร :
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
วันที่ :
Tue 20, Apr 2010 18:53:11
|
|
|
|
|
|
|
เเก้ไข...เป็นพระรอดเเสงตาครับ |
|
|
โดย : หนานติ๊บ [Feedback +7 -0] [+1 -0] |
|
[ 1 ] Sat 15, May 2010 01:19:39
|
|
|
|
|
|
|