พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
พระเครื่อง จ.ลำพูน

เหรียญรุ่นแรกครูบาพรหมา วัดพระพุทธบาทตากผ้า ปี 2500 เนื้อฝาบาตร

(ปิดการประมูลแล้ว)

เหรียญรุ่นแรกครูบาพรหมา วัดพระพุทธบาทตากผ้า ปี 2500 เนื้อฝาบาตร

ชื่อพระ :
 เหรียญรุ่นแรกครูบาพรหมา วัดพระพุทธบาทตากผ้า ปี 2500 เนื้อฝาบาตร
รายละเอียด :
 

เหรียญรุ่นแรกครูบาพรหมา วัดพระพุทธบาทตากผ้า ปี 2500 เนื้อฝาบาตร


จัดสร้างขึ้นเมื่อปี 2500 เป็นเหรียญรูปไข่เนื้อฝาบาตร
#ด้านหน้าของเหียญเป็นรูปเหมือนนั่งเต็มองค์
ด้านบนเป็นอักษรล้านนา เขียนว่า ครูบาพรหมจักร
ด้านล่างเป็น ตัวหนังสือภาษาไทย เขียนว่า พระครูพรหมจักรสังวร วัดพระพุทธบาทต้ากผ้า อ ป่าซาง จลำพูน
#ด้านหลังของเหรียญเป็นอักษรล้านนา
#พระคาถาด้านบน นะมะพะธะยะ หรือ นะโมพุทธายะ” เป็นอักขระที่ใช้แทนพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ในกัปป์นี้ และ ยังแทนความหมายของแม่ธาตุใหญ่ที่ให้กำเนิดทุกสรรพสิ่งอีกด้วย จึงถือได้ว่า เป็นคาถาหลักๆที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมีความเชื่อว่าหากผู้ใดบริกรรมคาถาบูชาสรรเสริญพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ สวด “นะโมพุทธายะ” ด้วยจิตอันสงบ มั่นคง แน่วแน่ จะเกิดพุทธคุณครอบจักรวาลทั้งเมตตามหานิยม มหาเสน่ห์ แคล้วคลาด คงกระพัน มีกำลังกาย กำลังใจที่ดี ไม่เกรงกลัวต่อภยันตรายต่างๆ
ทั้งนี้ยังได้มีการนำพระคาถาพระเจ้าห้าพระองค์มาสร้างเป็นยันต์ “พระเจ้าห้าพระองค์” อีกด้วย โดยลงอักขระด้วย “ นะโมพุทธายะ” ใช้ได้ครอบจักรวาล
"นะโมพุทธายะ" 1f64f.png
สำหรับความหมายของ “นะ โม พุท ธา ยะ” มีดังนี้
1f64f.png นะ หมายถึง พระกุกกุสันโธ ใช้เขียนแทน ธาตุน้ำ หรือ อาโปธาตุ มีกำลังเท่ากับ ๑๒ ใช้ในการปลุกเสกให้เกิดพุทธคุณด้านเมตตามหานิยม
1f64f.png โม หมายถึง พระโกนาคม ใช้เขียนแทน ธาตุดิน หรือ ปฐวีธาตุ มีกำลังเท่ากับ ๒๑ ใช้ในการปลุกเสกให้เกิดพุทธคุณด้านคงกระพันชาตรี
1f64f.png พุท หมายถึง พระกัสสปะ ใช้เขียนแทน ธาตุไฟ หรือ เตโชธาตุ มีกำลังเท่ากับ ๖ ใช้ในการขับไล่สิ่งอัปมงคล หรือสะเดาะเคราะห์
1f64f.png ธา หมายถึง พระสมณะโคดม (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) ใช้เขียนแทน ธาตุลม หรือ วาโยธาตุ มีกำลังเท่ากับ ๗ ใช้ด้านการล่องหน กำบังตน
1f64f.png ยะ หมายถึง พระศรีอารยเมตไตรย (พระพุทธเจ้าองค์ถัดไป หลัง พ.ศ.๕๐๐๐) ใช้เขียนแทน อากาศธาตุ มีกำลังเท่ากับ ๑๐ เมื่อรวมกำลังธาตุทั้ง ๕ ก็จะเป็นคุณพระพุทธเจ้า ๕๖
#พระคาถาด้านล่าง
นะเมตตา โมกรุณา พุทธปราณี ธายินดี ยะเอ็นดู เป็นคาถาเมตตามหานิยม
จัดเป็นเหรียญยอดนิยมของจังหวัดลำพูนที่น่าเก็บไว้บูชามากๆครับ
เหรียญนี้ผิวแห้งเก่าดูง่ายครับ

 สนใจสอบถามได้ครับ 0861936900

Clip_189.jpg Clip_191.jpg Clip_192.jpg

 
ราคาเปิดประมูล :
 100 บาท
ราคาสูงสุด ขณะนี้ :
 100 บาท
ราคาที่ต้องเพิ่มขึ้น ขั้นต่ำ :
 100 บาท

เงื่อนไขการรับประกัน :
 

ผู้ตั้งประมูล :
 วันศีล โกวัง
ที่อยู่ :
 323/332 ม.12 ต.สันผักหวาน อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ไทย

เบอร์โทรติดต่อ :
  0861936900, 0861936900
E-mail :
 

ชื่อบัญชี :
 นายวันศีล โกวัง
เลขที่ บัญชี :
 8922097432
ประเภท บัญชี :
 ออมทรัพย์
ธนาคาร :
 ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
สาขา :
 สาขาย่อยเทสโก้ โลตัส เชียงใหม่ - กาดคำเที่ยง

วันที่ :
 Thu 20, May 2021 21:54:08
โดย : ศิวิไล    [Feedback +55 -0] [+36 -1]   Thu 20, May 2021 21:54:08
 
 
ครูบาพรหมจักรผ่านสายตาครูบาอาจารย์ที่นับว่าเป็น สุปฏิปันโน หมู่พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี อุชุปฏิปันโน พระสงฆ์สาวกผู้ปฏิบัติตรง ญายปฏิปันโน พระสงฆ์สาวกผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์ สามีจิปฏิปันโน พระสงฆ์สาวกผู้ปฏิบัติสมควร บางท่านดังนี้
 
“...รู้สึกเสมือนหนึ่งเป็นเพื่อนร่วมอาจารย์กัน คือ ธรรมะที่มีลักษณะเดียวกัน ชอบใจธรรมะร่วมกัน อีกทางหนึ่งรู้สึกเหมือนท่านเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า คือ ความอ่อนโยนนิ่มนวลของท่าน ซึ่งข้าพเจ้าต้องจำไว้เป็นครู เพราะข้าพเจ้าไม่มีความนิ่มนวลเห็นปานนั้น บัดนี้ข้าพเจ้าก็ยังไม่มีความนิ่มนวลอ่อนโยนเหมือนท่าน ท่านเป็นมนุษย์ชั้นเลิศผู้หนึ่งซึ่งควรจะมีอายุยืนยาวนานกว่านี้ เพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลายนานยิ่งขึ้นไป”
 
 
นั่นคือคำกล่าวถึงครูบาพรหมจักรของ ท่านพุทธทาส อินทปัญโญ แห่งสวนโมกขพลารามพระภิกษุที่ท่านพุทธทาสยกย่องถึงปานนี้ย่อมไม่ธรรมดา
 
ครูบาพรหมจักรเกิดในสกุลชาวไร่ชาวนา บ้านป่าแพ่ง ต.แม่แรง อ.ปากป่อง จ.ลำพูน ซึ่งปัจจุบันคือ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน เมื่อวันอังคารที่ 3 ส.ค. พ.ศ. 2441 เป็นบุตรของนายเป็ง พิมสาร และนางบัวถา พิมสาร มีพี่น้องรวมทั้งสิ้น 13 คน
 
หากจะกล่าวว่าครอบครัวพิมสารเป็นครอบครัวบุญก็คงจะกล่าวได้ เพราะพ่อแม่สนใจในการบุญจึงพาลูกๆ ไปทำบุญสุนทานตั้งแต่เด็ก ครูบาพรหมจักรนั้นบวชเป็นเณรตั้งแต่อายุ 15 ปี ใน พ.ศ. 2455 พออายุครบ 20 ปี ก็อุปสมบทที่วัดป่าเหียง โดยมีเจ้าอธิการแก้ว ขันติโย เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ 16 ม.ค. พ.ศ. 2461
 
ครอบครัวนี้เป็นครอบครัวน่าอัศจรรย์ กล่าวคือ
 
ลูกชาย 3 ใน 7 คนก็ได้ออกบวช ทุกรูปล้วนแต่เจริญในธรรมและเจริญสมณศักดิ์ได้เป็นเจ้าอาวาสด้วยกันทั้งหมดนั่นคือ 1.พระสุธรรมยานเถระ หรือ ครูบาอินทจักร์รักษา วัดน้ำบ่อหลวง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ 2.ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า อ.ป่าซาง จ.ลำพูน 3.พระครูสุนทรคัมภีรญาณ หรือ ครูบาคัมภีระ วัดพระธาตุดอยน้อย อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
 
ทั้ง 3 รูป มีพรรษาห่างกันท่านละ 2 ปีพอดิบพอดี พอน้องชายบวชในปีที่ 6 หลังจากนั้นอีก 2 ปี ล่วงเข้าปีที่ 8 ก็ถึงคราวโยมพ่ออุปสมบท
 
นายเป็ง ออกบวชเมื่ออายุ 62 ปี “ครูบาเป็ง โพธิโก” บวชได้ 28 พรรษา ก็มรณภาพขณะอายุ 90 ปี อยู่ประจำที่วัดป่าหรองเจดีย์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ขณะที่มารดาก็ถือศีลนุ่งขาวห่มขาวจนสิ้นอายุ
 
บวชได้หนึ่งปี ครูบาพรหมจักร เข้าสอบนักธรรมที่วัดเชตุพน จ.เชียงใหม่ ปีนั้นมีพระเข้าสอบเป็นร้อยรูป แต่สอบได้เพียง 2 รูป หนึ่งในนั้นก็คือครูบาพรหมจักร พระผู้ใหญ่เห็นแววจึงขอให้มาศึกษาต่อที่ กทม. แต่พระอุปัชฌาย์และพี่น้องทัดทาน พระอุปัชฌาย์ชี้ทางสว่างท่านว่า “ถ้ารักตัวก็จงตั้งใจปฏิบัติธรรม”
 
ท่านแสวงหาความรู้จากครูบาอาจารย์หลายรูป เช่น ครูบาอินทจักร์รักษา พี่ชาย ครูบาแสน ญาณวุฑฒิ วัดหนองเงือก ครูบาบุญมาบารมี วัดก่อม่วง ครูบาอนุธรรมวุฒิ ฯลฯ เป็นเวลานาน 4 ปี พอถึงวันที่ 29 ก.ค. พ.ศ. 2464 ในพรรษา 4 ท่านจึงกราบลาพระอุปัชฌาย์และพี่น้องออกปฏิบัติธรรมตามป่าเขา
 
ครูบาธรรมชัย ธัมมชโย วัดทุ่งหลวง จ.เชียงใหม่ หนึ่งในคณะธุดงค์ชุดนั้นเล่าว่า คณะครูบา 4 พ่อลูกได้ออกธุดงค์ตั้งแต่ พ.ศ. 2478 เริ่มจากวัดป่าหนองเจดีย์ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ไปวัดพระธาตุจอมทอง วัดพระธาตุโมคคัลลานะ ดอยเต่า ดอยเกิ้ง ทะลุออก อ.ลี้ อ.แม่สอด จ.ตาก ออกบ้านท่าสองยาง บ้านผาเงา วกกลับเข้าลำพูน
 
ครูบาพรหมจักร จาริกหลีกเร้นปฏิบัติเป็นเวลาร่วม 20 ปี จาริกไปทั่วแถบภาคเหนือ ข้ามไปยันพม่า ถือวัตรปฏิบัติฉันหนเดียว เดินจงกรม ปฏิบัติกรรมฐานอย่างแน่วแน่ตั้งแต่หนุ่มจนแก่เฒ่า
 
ท่านมาหยุดวิเวกเอาเมื่อครูบาบุญเป็งชรามากแล้ว พระลูกทั้ง 3 จึงอยากให้พระพ่อได้พัก จึงแยกย้ายกันอยู่ใน 4 สำนักดังกล่าว
ผลของการปฏิบัติเป็นอย่างไร?
 
เรื่องนี้ พระสุธรรมยานเถระ หรือ พระมหาวีระ ถาวโร หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนาม หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี เขียนไว้ว่า เมื่อ พ.ศ. 2504 ขณะนั้นท่านเอง “ยังเป็นเด็กที่เพิ่งจะลืมตาเห็นโลกได้ในระยะใกล้ ระยะไกลยังมองไม่เห็น เพราะยังต้วมเตี้ยมในธรรมปฏิบัติ จึงสนใจพระที่ท่านปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเพื่อขอความรู้คำแนะนำจากท่าน...”
 
ปีนั้นท่านไปถึง จ.ลำพูน แล้วแวะเยี่ยมคุณแม้นเทพ ศุภนคร สรรพากรจังหวัดลำพูน เมื่อพบกันได้ถามว่าแถวนั้นมีพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบไหม คุณแม้นเทพ ว่า มีที่วัดพระพุทธบาทตากผ้า “ท่านปฏิบัติดีมาก”
 
นั่นคือคำบอกเล่าสั้นๆ ซึ่งกินความได้ทั้งหมด
 
 
เมื่อหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ปรารภว่า อยากไปกราบนมัสการ คุณแม้นเทพกลับว่า “ไม่ไหว ท่านดีแต่ท่านไม่พูด เคยเอาผ้าป่าไปถวายตั้งหมื่นบาท ท่านออกมานั่งเฉย เราพูดคำ ท่านก็ตอบคำ ไม่พูดต่อ”
 
“อาตมาก็คะนองปากพูดล้อเธอว่า ถ้าไม่พูดก็เอาไม้ทิ่มปากเสียก็แล้วกัน จะได้พูดเป็น...”
 
รุ่งขึ้นคณะชุดนี้ก็ไปวัดพระพุทธบาทตากผ้า สรรพากรจังหวัดเข้าไปกราบก่อน ออกมาแล้วกราบเรียนหลวงพ่อฤาษีลิงดำว่า “วันนี้ดีกว่าวันนั้นมาก เพราะออกมาแล้วนั่งหลับตาปี๋เลย ไม่พูดไม่จากับใครทั้งหมด อาตมาฟังแล้วก็มีความรู้สึกว่าวันนี้คงพบละครโรงใหญ่แสดงบทพิเศษแน่ ด้วยพระขนาดนั้นไม่รู้อะไรเลย ไม่มี เว้นไว้แต่จะพูดหรือไม่พูดเท่านั้น”
 
เมื่อหลวงพ่อฤาษีลิงดำเข้าไปกราบนมัสการครูบาพรหมจักรด้วยความเคารพ ปรากฏว่า
 
“คราวนี้ท่านพูดเก่งมาก พูดกับคนโน้นคนนี้ไม่หยุดปากเลย ขณะที่ท่านพูดอยู่อาตมาก็คิดในใจว่า ท่านบรรลุขั้นไหน ที่คิดอย่างนี้ไม่ใช่อวดวิเศษ คิดด้วยความชื่นชอบในปฏิปทาของท่าน เมื่อคิดอย่างนั้นแล้ว อารมณ์ใจที่ใช้เป็นปกติก็อยากรู้กำลังใจ แต่ท่านผู้อ่าน...เป็นเรื่องจริงที่หาได้ยาก นั่นก็คือ มองใจท่านไม่เห็น มืดตื้อไปหมด
 
ที่เป็นอย่างนี้ไม่ใช่ท่านมืด แต่เป็นเพราะอาตมาพบของจริงเข้า นั่นคือเด็กไม่สามารถเสมอผู้ใหญ่ได้ หรือคนตามัวไม่สามารถมองเห็นอณูเล็กๆ ได้ นั่นก็คืออาตมามีอารมณ์ใจเลวกว่าท่านมาก จึงไม่สามารถเห็นอารมณ์ใจของท่านได้
 
ทันทีที่ต้องการรู้อารมณ์ใจของท่าน ท่านก็หันมาพูดทันทีว่า คนเรานี่แปลกนะ เห็นคนอื่นเขาได้ ก็คิดว่าตนเองจะได้บ้าง ท่านพูดตรงกับอารมณ์ที่นึกอยู่พอดี จึงแน่ใจว่าท่านองค์นี้เป็นพระที่ควรบูชาอย่างยิ่งองค์หนึ่ง...”
 
เมื่อถึงเวลาพอสมควร ทุกคนอำลาเตรียมตัวกลับ โดยแวะชมสถานที่ก่อน ระหว่างนั้นหลวงพ่อฤาษีลิงดำได้ขออนุญาตคุยกับครูบาพรหมจักรเพียงลำพังสองรูป
 
“เมื่อปลอดคนก็เรียนถามท่านว่า ท่านปรารถนาพุทธภูมิหรือตัดตรงไปเลย”
 
“ท่านตอบว่า ตัดตรงไปเลยดีกว่า เป็นอันทราบว่าท่านมุ่งอะไร จึงได้เรียนถามท่านถึง สังโยชน์สิบ บอกท่านว่าต้องการศึกษา ท่านยิ้มแล้วท่านก็อธิบายย่อสังโยชน์ถึงข้อห้า แล้วกลับต้นใหม่ รวม 3 รอบ ท่านบอกว่า ผมเข้าใจจริงๆ เท่านี้เองครับ ฟังแล้วเมื่อเทียบกับตำราที่เคยรับทราบมา ถ้าตำราไม่โกหกก็ต้องยอมรับว่า ท่านบรรลุพระอนาคามี เมื่อคิดว่า เวลานี้ท่านทรงอนาคามีและกำลังอยู่ในอรหัตมรรค มองหน้าท่านไม่ได้พูดด้วยวาจา ท่านมองหน้าแล้วท่านก็ยิ้ม ท่านพูดออกมาโดยที่ไม่ได้ถามว่า ใช่แล้ว”
 
พูดชัดๆ ก็คือ ใน พ.ศ. 2504 ครูบาพรหมจักรบรรลุพระอนาคามี กำลังอยู่ในอรหัตมรรค ความข้อนี้เป็นบทสรุปที่กังวานขึ้นในใจของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ โดยองค์ท่านเองตอบรับออกมาเองว่า “ใช่แล้ว”
 
8 ปีถัดมา พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดป่าอรัญญวิเวก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ พระสุปฏิปันโนอีกรูปหนึ่งในวงกรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ได้ไปกราบนมัสการครูบาพรหมจักรเป็นครั้งแรก ท่านว่าเมื่อเดินตามครูบาพรหมจักรไปที่กุฏิ สังเกตดูวัดเป็นระเบียบเรียบร้อย ครูบาท่านก็มีศีลาจารวัตรนุ่มนวล พูดจาอ่อนหวาน เมื่อนำผ้าไตรเข้าไปถวาย “ท่านก็รับผ้าไตรด้วยความอ่อนน้อม สมกับเป็นครูบาอาจารย์ที่ได้ฝึกอบรมมาดีแล้วจริงๆ...”
 
หลังจากสนทนาไต่ถามกันถึงการปฏิบัติ พระอาจารย์เปลี่ยนก็มีข้อสรุปตั้งแต่พบกันครั้งแรกว่า “ท่านพูดไปแล้วก็ยิ้มๆ ไปแบบท่านมีเมตตาต่อเรา และท่านก็อยู่แบบมีความสุขอยู่ในจิตใจของท่านตลอด เมื่อข้าพเจ้าได้นั่งสนทนากับท่านครูบาอยู่บนกุฏิของท่านในครั้งแรก และดูกิริยาท่าทางในการยืน เดิน นั่ง พูดจาปราศรัยกับท่านอยู่ ก็พอเข้าใจได้ว่าท่านครูบาเจ้าองค์นี้ต้องมีคุณธรรมสูง น่าเลื่อมใสศรัทธาในตัวท่านว่าเป็นพระปฏิบัติดี มีศีลาจารวัตรในคุณธรรมอันงามทางพระพุทธศาสนา...”
 
ว่ากันว่าใครได้พบล้วนแต่ลงความเห็นเป็นเช่นนั้น แม้แต่ในหมู่พระสงฆ์ก็บอกเช่นเดียวกัน
 
ครูบาพรหมจักรสร้างทั้งคนทั้งวัด วัดพระพุทธบาทตากผ้ามีทั้งสำนักโรงเรียนพระปริยัติ นักธรรมบาลี และสำนักปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐาน วัดเจริญรุ่งเรืองจนได้รับการยกย่องว่าเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ศิษย์ในสำนักของท่านนั้นเรียนทั้งปริยัติและลงมือปฏิบัติ มีศิษย์ที่เป็นลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น อาทิ ครูบาชัยยะวงศา วัดพระบาทห้วยต้ม ฯลฯ
 
ท่านเป็นที่นับถือสักการะของทั้งเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินและประชาชนทั่วไป เมื่อเจริญธรรมเจริญชนม์มากระทั่งวัย 87 ปี พรรษาที่ 67 |สังขารที่ร่วงโรยประดุจไม้แห้งก็หลุดจากขั้ว
 
เช้ามืดวันที่ 17 ส.ค. พ.ศ. 2527 พอออกจากจำวัด ท่านลุกขึ้นนั่งสมาธิแล้วก็ดับขันธ์ไปในท่านั่งสมาธิภาวนา เมื่อเวลา 06.00 น.
มีงานพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุชั่วคราววัดพระพุทธบาทตากผ้า อ.ป่าซาง จ.ลำพูน เมื่อวันเสาร์ที่ 30 ม.ค. พ.ศ. 2531 ครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จไปพระราชทานเพลิงครูบาเจ้าพรหมจักรด้วยพระองค์เอง เมื่อเก็บอัฐิปรากฏว่าอัฐิธาตุของท่านได้แปรสภาพเป็นพระธาตุ มีวรรณะสีต่างๆ หลายสีให้เห็นโดยทั่วกัน
 
ท่านแนะวิธีก้าวสู่หนทางอันประเสริฐนี้ไว้ว่า “ขอให้ท่านทั้งหลายจงเก็บกำข้อธรรมะไว้ประจำจิตประจำใจ ธรรมะที่ควรตั้งไว้ในจิตในใจนั้น ท่านแสดงไว้ 4 ประการด้วยกัน
 
ข้อ 1 ปัญญา ความรอบรู้
 
ข้อ 2 สัจจะ ความจริงใจ คือประพฤติสิ่งใดก็ให้ได้จริง
 
ข้อ 3 จาคะ สละสิ่งเป็นข้าศึกแก่ความจริงใจ และ
 
ข้อ 4 อุปสมะ สงบใจจากสิ่งเป็นข้าศึกแก่ความสงบ รวมเป็น 4 ประการด้วยกัน
 
ท่านทั้งหลาย ธรรมะ 4 ประการนี้ท่านเรียกว่า อธิษฐานธรรม คือ ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ มี 4 อย่างตามใจความที่ได้กล่าวมานี้”

 

 
โดย : ศิวิไล    [Feedback +55 -0] [+36 -1]     [ 2 ] Thu 20, May 2021 22:24:54









 
 
โดย : ศิวิไล    [Feedback +55 -0] [+36 -1]     [ 1 ] Thu 20, May 2021 21:56:20

 
ประมูล เหรียญรุ่นแรกครูบาพรหมา วัดพระพุทธบาทตากผ้า ปี 2500 เนื้อฝาบาตร : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.