ใน ปี พ.ศ.2381 สมัยเจ้ามหาวงค์ผู้ครองนครน่านได้เล็งเห็นความสำคัญของพุทธศาสนา จึงจัดให้มีการบูรณะซ่อมแซมพระธาตุท่าล้อ เป้นอันดับที่ 5
และ ต่อมาในพุทธศักราช 2389 ตรงกับจุลศักราชที่ 1208 ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 10 ได้มมีการพุทธาภิเษกเฉลิมฉลอง ทำบุญมหาปอยหลวงในสมัยของพระเจ้าผู้ครองนครน่านในสมัยนั้น
ใน ปี 2484-2485 ครูบาขัติยวงค์ ขัตติโย หรือหลวงปู่ขัติ เจ้าอาวาส ได้บูรณะซ่อมแซม พระธาตุท่าล้อ โดยให้สิบตรี ก่ำ พรหมคำปา สล่าจากบ้านสถารศ เป็นผู้รับเหมาจ้างซ่อมพระธาตุฯ
ซึ่ง เดิมที พระธาตุท่าล้อเป็นพระธาตุปลายกุด และมีการต่อเติมเสริมแต่งปลายเจดีย์ พระธาตุ โดยใช้ปูนขาวบ้านผาตูบ โดยนำมาผสมกับน้ำเมือก (ต้นเมือกแช่) ผสมกับเปลือกต้นมะม่วง ปูนขาว ดินทราย และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า วัสดุซึ่งเหลือจากการบูรณะซ่อมแซมสร้างพระธาตุเจดีย์ภูเพียงแช่แห้ง โดยได้นำวัสดุมาต่อยอดเจดีย์องค์พระธาตุท่าล้อเป็นอันดับ 2 เหลือจากนั้นนำไปสร้าง เจดีย์บ้านสถารศ เป็นอันดับ 3