ในบรรดาพระเครื่องเมืองลำพูน คอพระสกุลลำพูนมักรู้จักกันดีในชื่อของ "พระยืดเหล็กไหลดอยไซ" พบแห่งเดียวคือ ตรงหน้าผาของปากถ้ำวัดดอยไซ ต.ป่าสัก อ.เมือง ลำพูน ที่เรียกกันอย่างนี้เพราะ ผู้เฒ่าผู้แก่สมัยก่อนเล่าว่า พระเหล็กไหลดอยไซนี้ทำมาจากวัตถุวิเศษ เมื่อนำไปลนไฟแล้ว พระชนิดนี้จะอ่อนตัวและยืดออกมา แต่เมื่อนำไฟที่ลนออกจากองค์พระ ก็จะหดกลับ จึงเป็นที่มาของชื่อพระ
พระเหล็กไหลดอยไซ มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายแหลม มี 2 พิมพ์ คือพิมพ์มารวิชัย และพิพม์สมาธิ หน้าตาองค์พระมีลักษณะดุดัน ดวงตาเป็นเม็ดกลมโปน นูนออกมา คิ้วจะชนกันเป็นรูปปีกกา ซึ่งเป็นลักษณะของคิ้วในศิลปะขอมโดยเฉพาะ เม็ดพระศกจะเป็นเม็ดกลม เรียบร้อย มีกรอบหน้ากระจังเหมือนกรอบไรพระศก ส่วนเศียรขององค์พระจะดูเรียวแหลมขึ้น คล้ายมงกุฏ ลำคอเป็นปล้อง 3 ชั้น จีวรจะเป็นลักษณะห่มดอง สังฆาฏิยาวห้อยลงมา เห็นหัวนมด้านขวาขององค์พระเป็นเม็ดกลมนูนเด่น ฐานที่ประทับนั่งจะเป็นฐานบัว 2 ชั้นคล้ายกับลายก้างปลา และองค์พระจะบางมาก คนสมัยก่อนเลยนิยมนำองค์พระไปติดกับแผ่นไม้ เพื่อรักษาองค์พระ ส่วนเนื้อพระมีทั้งหมด 2 เนื้อคือ เนื้อชินเงิน และเนื้อชินเขียว แต่มีพระตระกลูเชียงแสนบางพิมพ์ลักษณะคล้ายพระเหล็กไหลดอยไซ บางท่านยัดกรุท่านไปเลยก็มี แต่มีข้อสังเกตุง่ายคือ องค์พระจะหนา และเม็ดหัวนมจะไม่มีหรือไม่นุนเด่น องค์นี้ได้รับเกียรติลงหนังสือ พระล้านนาอมตะและติดรางวัลที่ 1 งานลำพูนที่บิ๊กซีเมื่อ11 ตุลาคม ปี 52 ที่ผ่านมานี้เองครับ เลยต้องขอโชว์อย่างเดียวก่อนครับหากเบื่อเมื่อไหร่อาจมีการเปลี่ยนแปลง
|