นำกล้องส่องพระที่เก็บสะสมไว้เล็กน้อยมาแบ่งกันชมครับ
ตัวแรก เป็นกล้องสัญชาติญี่ปุ่น คือ Nikon หยดน้ำ 10x รุ่นนี้เป็นตัวแรก บล็อกแรก หายากมากครับ
ต่อมาเป็น กล้องของ ฝรั่งเศส ยี่ห้อ kruass ปี 1939 ใช้เลนส์ apl ของ zeiss มาทำ บางท่านให้ข้อมูลว่า บริษัท kruass ซึ่งเป็นบริษัท ทำกล้องส่องทางไกล กล้องจุลทรรศน์ เก่าแก่ของฝรั่งเศส เป็นหุ้นส่วน-พันธมิตร กับ บ. Carl Zeiss ของเยอรมัน จึงมีการ แลกเปลี่ยนเทคโนโลยี – วัตถุดิบ การผลิตกัน
ถัดมาเป็นกล้อง Zeiss ต่างรุ่นกัน แต่เลนส์เป็นใยหินทั้งคู่ ตัวแรกเป็น ตัวที่หลายท่านเรียกว่า เกลียวดำ รุ่นนี้เป็นรองเขียวขี้ม้านิดหน่อย แต่มีผู้ชำนาญการบางท่านบอกว่าใช้เลนส์ตัวเดียวกัน ตัวนี้ เป็น 3*6*9x ราคาตอนออกมาแรกๆ พอๆกับ 10x (ในด้านการใช้งาน ในเมืองนอกนั้น บรรดานักสะสม แสตมป์ –ธนบัตร หรือเหรียญ ต่างๆ จะไม่ใช้อัตราการขยายมาก แค่ 3 หรือ6 เท่าก็เพียงพอ ครั้งพออยากจะพิจารณาวัตถุที่ต้องใช้อัตราขยายมากขึ้นก็ จะใช้สองเลนส์รวมกัน เป็น 9เท่า) รุ่นนี้บอกไว้สักนิดว่าปัจจุบันในเมืองไทย ถ้าบอดี้สวยๆเดิม เลนส์ใสๆ เดิมๆ ไม่มีรอย 10x นี่ หมื่นปลาย เลยนะครับ ส่วน 8x, 3*6*9x, 6x ก็ลดหลั่นกันมา
Zeiss อีกตัวคือ 8x ตัวท๊อป (บางท่านเรียกสิงห์ดำ) ตัวท๊อป ที่ล๊อคเลนส์จะเป็นทองเหลืองรมดำ (ของยุคหลังเป็นอลูมิเนียมรมดำ) แกนร้อย จะเป็นเงินผสม ออกขาวอมเหลือง (บางท่านเรียก เงินเยอรมัน)
สัญชาติเยอรมันอีกตัวคือ VEB กล้องยี่ห้อนี้มีขายในไทย โดยในยุคประมาณ 20 ปีก่อน มีบริษัทนำเข้ามาขายในไทย ลองไปเปิดหนังสือพระรุ่นเก่าๆ สักประมาณปี 2521-23 ราคา 400 -600 กว่าบาทเลยทีเดียว
สุดท้ายเป็นกล้องสัญชาติอเมริกา ที่คนไทยรู้จักกันดี คือกล้องยี่ห้อ Bausch & Lomb นำมาให้ชมกัน 2 ตัว ตัวแรก เป็น 10 x โลโก้ใหญ่ อักษรเต็ม บอดี้ทำจากทองเหลืองผสม อีกตัว เป็น 20x อักษรเต็ม (ตัวเล็ก)บอดี้เป็นทองเหลืองชุบนิเกิลหนา ทั้งคู่ เป็นเลนส์ Hasting tripet คือเลนส์ 3 ชั้น เป็นที่นิยมกว่าตัว codington และที่สำคัญ ในสภาพนี้ หายากมากทีเดียวครับ
กล้องส่องพระทุกวันนี้ เป็นทรัพย์สินที่นับวันมีแต่จะมีมูลค่าสูงขึ้น ส่วนใหญ่ไม่มีปลอม มีแต่สวยกับไม่สวย หากคิดเก็บเป็นทรัพย์สินเพื่อการลงทุน ก็เป็นทางเลือกอีกทางที่น่าสนใจทีเดียว
แต่เหนือสิ่งอื่นใด การที่เราได้ส่องพระเครื่องหรือวัตถุมงคล ด้วยกล้องที่ดีๆ สว่างๆ ย่อมถนอมสายตาเราได้จริงๆ เรียกว่าส่องได้ทั้งคืน ไม่มีปวดตาว่างั้นเถอะ.
|