พระร่วงยืน หลังลายผ้า กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี
เมืองลพบุรี เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน โบราณสถาน และศิลปวัตถุ พระเครื่อง พระบูชา ของ จ.ลพบุรี ยังมีปรากฏให้เห็นด้วย ทั้งความงดงาม เก่าแก่ และความเข้มขลังในพุทธคุณอีกด้วย ทำให้วงการพระนิยมและยกย่องพระเครื่องเมืองลพบุรีเป็นพระชั้นนำ และชั้นแนวหน้าวงการพระเครื่องเลยทีเดียว พระเครื่องที่น่ารู้ของเมืองลพบุรีมีด้วยกันมากมาย องค์ในรูปนี้ เป็น พระร่วงยืน หลังลายผ้า กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นพระปางยืนประทานพร ศิลปะเขมรยุคบายน สนิม มีทั้งวรรณะ เขียวอมเหลือง และวรรณะแดง เห็นแล้วสวยจริงๆครับบ เข้าใจว่าขอมสร้างตอนที่เมืองลพบุรีอยู่ภายใต้การปกครองของขอมซึ่งตอนนั้น เรียกว่า เมืองละโว้ ส่วนพระพุทธคุณของ “พระร่วงยืนหลังลายผ้า” นั้นจากประสบการณ์ที่ผ่านมาได้รับการกล่าวขานว่ายอดเยี่ยมทางด้าน “คงกระพันชาตรี-มหาอำนาจ-เมตตามหานิยม-โชคลาภ” และ “แคล้วคลาด” ซึ่งปัจจุบันได้ถูกบรรจุอยู่ในชุด “ยอดขุนพล” ที่หายากที่สุดราคาจึงนับว่าสูงมากไม่แพ้ “พระร่วงยืนหลังรางปืน” ของเมืองสวรรคโลกจังหวัดสุโขทัยที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะมีผู้สันนิษฐานว่า “พระร่วงยืนหลังลายผ้า” ของเมืองลพบุรีกับ “พระร่วงยืนหลังรางปืน” ของเมืองสวรรคโลกน่าจะสร้างขึ้นพร้อมกัน เนื่องจากสกุลช่างก็เป็นสกุลเดียวกันนั่นเอง เพราะฉะนั้นหากผู้ใดมีพระร่วงยืนหลังลายผ้าของเมืองลพบุรีอยู่ในความครอบ ครองแล้วก็เหมือนกับมี “พระร่วงยืนหลังรางปืน” อยู่ในครอบครองเช่นกัน “พระร่วงยืนหลังลายผ้า” เป็นพระเครื่องที่สร้างขึ้นในยุคเดียวกันกับ “พระร่วงยืนหลังรางปืน” และ “พระร่วงยืนหลังลายกาบหมาก” จึงได้รับความนิยมจากบรรดา นักสะสมและผู้มีความศรัทธาพร้อมกับได้รับการจัดเป็นหนึ่งในชุด “พระเบญจภาคี” ประเภท พระกรุเนื้อโลหะ ปัจจุบัน “ของแท้” จึงหาชมได้ค่อนข้างยากราคาจึงแพงมากอีกด้วย “พระร่วงยืน หลังลายผ้า” สำหรับพระพิมพ์นี้เป็น “พระร่วงยืนปางประทานพร” ซึ่ง “พระร่วงยืน” นี้ถือเป็น “ศิลปะขอม” ใน “สมัยบายน” ที่แตกกรุออกมาครั้งแรกเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๐ ดังนั้นอายุของพระพิมพ์นี้มาถึงวันนี้ ก็ประมาณ “พันปี” ที่สันนิษฐานว่าชนชาวขอมสร้างไว้ในยุคที่ “เมืองลพบุรี” ที่สมัยนั้นเรียกว่า “เมืองละโว้” หรือ “ลวปุระ” อยู่ภายใต้การปกครองของ “ชนชาวขอม” โดย “พระร่วงยืนหลังลายผ้า” ของเมืองลพบุรีนี้มีด้วยกัน “๒ พิมพ์” คือ “พิมพ์ใหญ่” ที่ถือเป็น “พิมพ์นิยม” และ “พิมพ์เล็ก” ส่วน “พระร่วงพิมพ์อื่น ๆ” ที่แตกกรุออกมาพร้อมกันที่ไม่ใช่ “พระร่วงหลังลายผ้า” ก็มีเช่นกัน และหลังการแตกกรุครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๐ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ “พระร่วงยืนหลังลายผ้า” ของเมืองลพบุรีก็มีแตกกรุออกมาอีกถึง ๓ ครั้งด้วยกันในปี พ.ศ. ๒๔๕๕ และ พ.ศ. ๒๔๕๘ ซึ่งตรงกับรัชสมัยของ “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว” รัชกาลที่ ๖ โดยพบยังบริเวณใกล้เคียงกับที่พบครั้งแรก (พ.ศ. ๒๔๓๐) คือบริเวณ “พระปรางค์องค์ใหญ่” (องค์ประธาน) ของ “วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ” จากนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ในสมัยรัชกาลปัจจุบันก็มีการขุดพบ “พระร่วงยืนหลังลายผ้า” อีกยังบริเวณของ “วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี” ซึ่งในระหว่างที่ขุดพบนั้นมีชื่อเรียกว่า “โรงเรียนช่างกล” ทั้งนี้ก็เพราะในบริเวณของวิทยาลัยเทคนิคหรือโรงเรียนช่างกลแห่งนี้ในอดีต เคยเป็น “โบราณสถาน” มาก่อนนั่นเองซึ่งการขุดพบครั้งนี้มีจำนวนประมาณ “๒๐๐ องค์” และพบพระพิมพ์อื่น ๆ อีกเช่น “พระร่วงนั่ง” พร้อมพระพิมพ์อื่น ๆ อีกหลายพิมพ์โดยวงการนักสะสมจะเรียกพระเครื่องที่พบครั้งนี้ว่า “พระร่วงยืน-พระร่วงนั่งกรุช่างกล” เป็นพิมพ์แบบเดียวกับพระกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ทุกประการ จะผิดกันที่สนิมขององค์พระ จะแดงเข้มกว่า ส่วนพระพุทธคุณของ “พระร่วงยืนหลังลายผ้า” นั้นจากประสบการณ์ที่ผ่านมาได้รับการกล่าวขานว่ายอดเยี่ยมทางด้าน “คงกระพันชาตรี-มหาอำนาจ-เมตตามหานิยม-โชคลาภ” และ “แคล้วคลาด” ซึ่งปัจจุบันได้ถูกบรรจุอยู่ในชุด “ยอดขุนพล” ที่หายากที่สุดราคาจึงนับว่าสูงมากไม่แพ้ “พระร่วงยืนหลังรางปืน” ของเมืองสวรรคโลกจังหวัดสุโขทัยที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะมีผู้สันนิษฐานว่า “พระร่วงยืนหลังลายผ้า” ของเมืองลพบุรีกับ “พระร่วงยืนหลังรางปืน” ของเมืองสวรรคโลกน่าจะสร้างขึ้นพร้อมกัน เนื่องจากสกุลช่างก็เป็นสกุลเดียวกันนั่นเอง เพราะฉะนั้นหากผู้ใดมีพระร่วงยืนหลังลายผ้าของเมืองลพบุรีอยู่ในความครอบ ครองแล้วก็เหมือนกับมี “พระร่วงยืนหลังรางปืน” อยู่ในครอบครองเช่นกัน
|