ตะกรุดหลวงพ่อโม วัดจันทราราม
...@@ ตะกรุดหลวงพ่อโม ส่วนใหญ่จะจารอักขระด้านนอก ,โลหะทั้งทองแดงและฝาบาตร จะเก่าเนื้อหาจัดมาก ( ปัจจุบันยากที่จะหาโลหะมาทำปลอมได้ เพราะโลหะเก่าและแข็งจริงๆ ) , ม้วน ๕ รอบ โลหะเนื้อจัดมาก , เส้นผ่าศูนย์กลางตะกรุดยุคแรกๆจะอยู่ที่ประมาณ 1.5 - 1.7 ซม และเมื่อลองนำมาชั่งน้ำหนักดูหลายสิบดอก แต่ละดอกน้ำหนักเฉลี่ยอยู่ที่ 90-95 กรัม จากข้อมูลนี้สามารถนำไปพิจารณาในการเช่าตะกรุดของหลวงพ่อโมได้ เพราะพิสูจน์แล้ว,การถักเชือก มีทั้งถักเชือกแบบชาวบ้านเช่นใช้เอ็นตกปลา ,เชือกในล่อน สีขาว ดำ เหลือง เขียว แดง เป็นอุปกรณ์ที่ชาวบ้านใช้ในการทำเครื่องมือหาปลาและไม่ถักเชือก เดิมๆออกจากวัดก็มีหรือใช้สายสิน ก็มีให้เห็น และที่สำคัญ ผมได้ทำการคลี่ตะกรุดของหลวงพ่อโม ทั้งทองแดงและทองเหลืองฝาบาตร ออกมาให้กระจ่างแล้ว 6 ดอก สามารถมาดูได้ ว่ายันต์ของหลวงพ่อโม ที่ท่านจารลงที่แผ่นตะกรุดของท่านขั้นต้นตารางเก้ายอดเท่านั้น ท่านจารยันต์บารมี 30 ทัศและต้องเป็นการจารอักขระและตีตาราง แบบนี้เท่านั้น
1.) ตะกรุดหลวงพ่อโม จะมีด้วยกัน 3 ขนาดคือ 5 นิ้ว ตัดจากฝาบาตร 6 นิ้ว ,7 นิ้ว ตัดจากฝาบาตร 9 นิ้ว , 9 นิ้ว ตัดจากฝาบาตร 12 นิ้ว บาตรที่พระสงฆ์ใช้ในการบิณฑบาตร จะมีด้ายกัน 3 ขนาดคือ 6 - 9 - 12 นิ้วเท่านั้น
2.) ตะกรุดจะมีทั้งจารนอกและไม่จารนอก ( รายละเอียดอยู่ด้านบน )
3.) ตะกรุดออกจากวัดเป็นตะกรุดเปลี่อยๆ เกือบ 100 % การถักหุ้มจะเป็นการถักแบบวิถีชาวบ้าน ด้วยอุปกรณ์ที่ใช้ทำมาหากินเช่น เอ็นตกปลา ,เชือกหรือในล่อนในการจับนกหรือหาปลา ,สายสินก็มีให้เห็นบ้างแต่ไม่มาก
4.) ตะกรุดจะมีขนาดโต อยู่ที่ประมาณ 1.5 - 1.8 ซม หนักประมาณ 9 - 9.5 กรัม 5.) ปลายของตะกรุด ที่ม้วน 5 รอบ จะแน่นและแข็งมากๆ ให้ใช้มามากขนาดใหน ยากที่จะบุบได้ง่ายๆ เพราะแข็งมากๆ ฆ้อนเท่านั้นที่จะทำให้ปลายของตะกรุดบุบได้ " ทำไมนักเล่นรุ่นเก่า จึงอยากได้ตะกรุดเนื้อทองเหลืองฝาบาตร เพราะตัวบาตรและฝาบาตรเป็นอุปกรณ์ที่พระใช้ ในตอนเช้าพระสมัยก่อนจะต้องไปบิณฑบาตร พระสงฆ์จะต้อง " พินทุบาตรหรือการสวดบาตร ทุกเช้า " และพระที่เก่งๆในสมัยก่อนในขณะที่บิณฑบาตรท่านจะสวดและท่องคาถาขณะเดินบิณฑบาตรเสมอ และ ยิ่งนำมาทำวัตถุมงคลด้วยแล้วรับรอง ทำให้เราไม่อดอยากมีกินมีใช้เสมอ หรือที่คนโบราณชอบพูดว่า " ฝาบาตรนั้น มีดีในตัว " "
ขอบพระคุณ Cr.พี่อ้น รังสิต
|