พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ

ตะกรุดยันต์เกราะเพชร หลวงพ่อเณร วัดทุ่งเศรษฐี


ตะกรุดยันต์เกราะเพชร หลวงพ่อเณร วัดทุ่งเศรษฐี


ตะกรุดยันต์เกราะเพชร หลวงพ่อเณร วัดทุ่งเศรษฐี


ตะกรุดยันต์เกราะเพชร หลวงพ่อเณร วัดทุ่งเศรษฐี

ใหม่ กลับหน้าร้าน
ชื่อพระ :
 ตะกรุดยันต์เกราะเพชร หลวงพ่อเณร วัดทุ่งเศรษฐี
รายละเอียด :
 

ตะกรุดยันต์เกราะเพชร หลวงพ่อเณร วัดทุ่งเศรษฐี  ออกให้บูชาในงานเป่ายันต์เกราะเพชร และเจริญพุทธมนต์ข้ามปี 

ตะกรุดเกราะเพชร หลวงพ่อเณร วัดทุ่งเศรษฐี ราม 2 กทม.  พุทธคุณของตะกรุดเกราะเพชรนั้น ดั่งฝอยท่วมหลังช้าง 

ทั้งแคล้วคลาดปลอดภัย กันสิ่งไ่ม่ดี มหาอำนาจ เมตตา สุดแล้วแต่จะอธิษฐานเอา และยิ่งเป็นตะกรุดเกราะเพชรของวัดทุ่งแล้ว พุทธคุณและวิธีการเสกเข้มขลัง เป็นไปตามตำราหลวงปู่ปานโดยแท้  หลวงพ่อเณร กับการเป่ายันต์เกราะเพชรตำหรับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค

หลวงพ่อเณร ญาณวินโย ได้เรียนวิชาการเป่ายันต์เกราะเพชร จาก หลวงปู่ฤาษีลิงขาว (ช่อ อภินันโท) วัดฤกษ์บุญมี จ.สุพรรณบุรี ผู้สืบสานวิชาเกราะเพชรจากหลวงปู่ ปาน วัดบางนมโค ปฐมเหตุของการเรียนวิชายันต์เกราะเพชร หลังจากที่หลวงพ่อเณรท่านได้ตั้งวัดทุ่งเศรษฐี (ราม 2) แล้วท่านก็ยังคงเสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ที่ว่ากันว่าขลังและดีจริงอยู่ตงอดเวลา จนเมื่อท่านได้เดินทางไปเยี่ยม พระอุปัชฌาย์ของท่าน สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สนิท เขมจารีมหาเถร) วัดปทุมคงคาฯ ท่านได้เอ่ยถามหลวงพ่อเณรว่า "ลูกเอ๋ย อยากเรียนวิชายันต์เกราะเพชรไหม" ด้วยความที่หลวงพ่อเณรท่านเป็นคนที่ชอบศึกษาวิชาต่างๆจึงตอบรับทันทีว่า "อยากเรียนครับ" เจ้าประคุณสมเด็จฯกล่าวต่อว่า "ฉันรู้จักพระองค์หนึ่งอยู่สุพรรณบุรี มีความชำนาญและเจนจบในศาสตร์วิชาเป่ายันต์เกราะเพชรเป็นยิ่งนัก ฉันจะเขียนจดหมายฝากฝังไปให้

นี่คือเหตุของการได้พบกันระหว่างหลวงพ่อเณร ญาณวินโย กับหลวงปู่ฤาษีขาว (ช่อ อภินันโท) ศิษย์หลวงปู่ ปาน วัดบางนมโค

พบและเริ่มเรียนวิชายันต์เกราะเพชร หลวงพ่อเณร ญาณวินโย ได้เดินทางไปพบหลวงปู่ฤาษีลิงขาว (ช่อ) ที่วัดฤกษ์บุญมี โดยนำจดหมายที่องค์อุปัชฌาย์เขียนฝากไปด้วย หลวงปู่ช่อรับจดหมายมาอ่านจนจบได้แต่ยิ้มและหัวเราะพร้อมกับกล่าวรับ หลวงพ่อเณร ญาณวินโย เป็นศิษย์และสั่งให้เตรียมพร้อมในการรับการถ่ายทอดวิชายันต์เกราะเพชร ที่เรียนหร้อมกันขณะนั้นมี 3 รูป ซึ่งหลวงปู่ช่อก็เมตตารับไว้ทั้งหมด แต่ที่เรียนจนจบมีเพียงหลวงพ่อเณร ญาณวินโย องค์เดียวเท่านั้น เพราะว่าการที่จะเรียนวิชายันต์เกราะเพชรให้จบสมบูรณ์จากหลวงปูช่อได้นั้น ท่านจะเป็นผู้สอบวิชายันต์เกราะเพชรด้วยตนเองทุกครั้ง หลวงปู่ช่อได้มอบตำราให้หลวงพ่อเณรศึกษาและถ้าสงสัยให้ถามเป็นคราวๆไป เพื่อเป็นการสอนและสอบทฤษฎีไปในตัว เพราะวิชาการเรียนเกราะเพชรนั้นไม่ง่ายกว่าที่เราคิด ต้องมีการเรียนรู้การตั้งธาตุ เดินธาตุ เป่ายันต์ลงในสสารต่างๆ (โลหะ ของเหลว อากาศ) ฯลฯ สอบการเป่ายันต์เกราะเพชร เข้าพรรษา พ.ศ.2534 หลวงปู่ช่อได้มาจำพรรษาและครอบครูที่ วัดทุ่งเศรษฐี (ราม 2) และทำการสอบเป่ายันต์เกราะเพชรเป็นครั้งสุดท้าย กำหนดขั้นตอนการสอบวิชาเป่ายันต์เกราะเพชร หลวงปู่ช่อได้จัดพิธีครอบครูมอบตำราให้ให้แก่หลวงพ่อเณรอย่างถูกต้องเป็นทางการ จากนั้นนำไปยังสถานที่สอบคือภายในอุโบสถ วัดทุ่งเศรษฐี (ราม 2) สำหรับการสอบนั้นหลวงปู่ช่อนำเอากระดาษสาใส่กรอบไม้มาวางไว้ แล้วกลับมานั่งโดยห่างจากกระดาษสาประมาณ 20 เมตร หลวงปู่ช่อ รวบรวมสมาธิบริกรรมพระคาถาและเป่าไปที่กระดาษ ปรากฏว่ากระดาษสาเป็นรูโหว่ซึ่งเดิมไม่มีร่องรอยการขาดใดๆ นี่เป็นข้อทดสอบที่ต้องทำและต้องผ่านให้ได้ มีกำหนดเวลา 2 เดือนช่วงเข้าพรรษาเท่านั้นถ้าเกินถือว่าขาดคุณสมบัติไม่สามารถเรียนจบได้

ช่วงเข้าพรรษาหลวงพ่อเณรได้ฝึกเป่ายันต์ตลอดครั้งแล้วครั้งเล่าก็ไม่เป็นผล ไม่ว่าจะทำอย่างไร รวบรวมสมาธิขนาดไหน ก็ไม่เป็นผล กระดาษสาไม่เป็นรู จนวันสุดท้ายของกำหนดการสอบ เมื่อสอบถามหลวงพ่อเณรว่าแล้วทำไมถึงเรียนสำเร็จ หลวงพ่อเณรท่านเมตตาเล่าให้ฟังว่า

"แรมค่ำเดือน 11 ตรงกับวันตักบาตรเทโว เป็นวันสุดท้ายแล้ว เราหมดกำลังใจ ท้อถอย เบื่อหน่าย เพราะเป่าจนคอแห้งก็ไม่เกิดอะไรขึ้น ได้แต่พร่ำบอกหลวงพ่อช่อว่า ไม่เอาแล้ว ขอเรียนวิชาอื่นดีกว่า เช่น วิชาทำตะกรุด น้ำมัน น้ำมนต์ วิชาเป่ายันต์เกราะเพชรมันยากแท้" หลวงพ่อเณรจึงยกกระดานเก็บแต่หลวงปู่ช่อเอ่ยบอกว่า "เอาน่าลองอีกครั้งหนึ่งจะเป็นไรกัน เอ้าลองดูสิ" จึงนำกระดานกระดาษสามาวางที่เดิมและกลับมานั่ง "ในใจจิตมันปล่อยวางไม่กดดัน เพราะไม่ได้หวังอะไรอีกแล้ว" หลวงพ่อเณรนั่งบริกรรมพระคาถาทำจิตให้ว่างปล่อยวาง จากนั้นเป่าลมออกไป ปรากฏว่านอกจากกระดาษสาทะลุเป็นรูแล้วยังปลิวกระเด็นไปปิดประตูด้วย จนหลวงปู่ช่อท่านยังหัวเราะและกล่าวขั้นว่า "แหม! แรงกว่ากูอีกนะ"  หลวงพ่อช่อได้เผยเคล็ดลับการเป่าพระยันต์เกราะเพชรว่า "ทุกอย่างอยู่ที่จิตและสมาธิ" ความศักดิ์สิทธิ์ของพระยันต์เกราะเพชรไม่ได้อยู่ที่พิธีการแต่อยู่ที่อภิญญาจิต ที่ต้องใช้กำลังของสมาธิสูง นับจากนั้นหลวงพ่อเณรท่านเป่ากี่ครั้งกระดาษก็ทะลุ หลวงปู่ช่อถึงกับให้หลวงพ่อเณร ไปเป่ายันต์แทนอยู่เสมอ แต่หลวงพ่อเณรไม่ยอมทำพิธีเป่ายันต์ที่วัดทุ่งเศรษฐี หรือไปเป่าตามที่หลวงปู่ช่อบอก หลวงพ่อเณรเคยกล่าวเสมอว่า "เราตั้งสัจจะเอาไว้ว่าเมื่อเรียนวิชาอาคมใดก็ตาม ถ้าครูบาอาจารย์ยังไม่สิ้น เราจะไม่ทำของวัดรอยเท้าครูบาอาจารย์อย่างเด็ดขาด"

จุดเริ่มของการเป่ายันต์เกราะเพชร ที่วัดทุ่งเศรษฐี 

ลูกศิษย์ได้พยายามขอให้หลวงพ่อเณรจัดพิธีเป่ายันต์เกราะเพชร ท่านก็ไม่ยอมเป่า จนกระทั่งหลังจากหลวงปู่ช่อ มรณภาพ 3 ปีทางวัดทุ่งเศรษฐีจัดให้มีการสะเดาะห์เคราห์ประจำปีขึ้น ปรากฏว่ามีประชาชนมาร่วมงานกันมากผิกปกติจนหลวงพ่อเณรยังแปลกใจจึงถามลูกศิษย์ว่าทำไมคนมากันมากนัก ลูกศิษย์จึงนำใบปลิวมาให้ดู ปรากฏว่าในใบปลิวนั้นได้เขียนถึงกำหนดการพิธีเป่ายันต์เกราะเพชร แทนที่จะเป็นพิธีสะเดาะเคราะห์ เหมือนปกติ หลวงพ่อเณรจึงรู้ว่าคนมากันเยอะเพราะอะไร ทั้งนี้ในการจัดงานปีนี้ พระครูวิจิตรสาธุวัฒน์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนฯ ซึ่งเป็นพระนักเทศน์ชื่อดัง ที่ศิษย์วัดทุ่งเศรษฐีจะพบท่านบ่อยๆ (ท่านมรณภาพปี กุมภาพันธ์ 2552) รับอาสาจัดพิมพ์ใบกำหนดการให้ และได้เตรียมการสำหรับพิธีไว้แล้วโดยไม่บอกหลวงพ่อเณร เคยถามหลวงพ่อเณรว่ารู้สึกอย่างไรเมื่อรู้ตัวกระทันหันว่าต้องเป่า ท่านก็ตอบว่าตกใจเหมือนกันแต่นึกถึงครูบาอาจารย์แล้วจิตใจมันปลอดโปร่งเลยมีความมั่นใจในครูบาอาจารย์และตัวเอง 

เมื่อทำการเป่ายันต์เกราะเพชรทั้ง 8 ทิศประชาชนที่มาร่วมพิธีบางคนก็ร้องไห้ มีการประทับร่างกันแตกตื่น บ้างก็ระบายของเสีย รู้สึกคันตามผิวหนัง ในครั้งนั้นผมก็เข้าพิธีด้วย  ปกติหลวงพ่อเณรจะจัดให้มีการเป่ายันต์ ในวันที่ 31 ธันวาคม และช่วงงานไหว้ครูประจำปีตอนเดือนกุมภาพันธ์ เป็นประจำทุกปี

 

 

หลวงพ่อเณร ญาณวินโย วัดทุ่งเศรษฐี (ราม 2) เขตประเวศ กรุงเทพฯ

เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกและรูปปัจจุบัน

สมณศักดิ์ ปี 2532 เป็นพระครูปลัดสัมพิพัฒนธีราจารย์ (พระครูปลัดฐานานุกรม ในสมเด็จพระธีรญาณมุนี กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค ๑ เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคา กรุงเทพฯ ปี 2548 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามที่ "พระพิศาลพัฒนาทร"

ปี 2553 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ "พระราชพัฒนโสภณ วิมลวิหารกิจ มหาคณิสสร บวรสังคาราม คามวาสี" วิทยฐานะ

สอบได้นักธรรมเอก สำนักเรียนวัดสลุด

ได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 

ได้รับปริญญาพุทธศาสตร์มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สถานะเดิมชื่อ วินัย โพธิ์สุข นามบิดา นายบุญมา โพธิ์สุข นามมารดา นางสมนึก โพธิ์สุข เกิดที่ ต.บางพลี อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ

บรรพชา ปี 2521 โดยมีพระครูสมุทรสิริวัฒน์ (หลวงพ่อทับ) วัดสลุด อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ เป็นพระอุปัชฌาย์

อุปสมบท ปี 2525 ณ พัทธสีมา วัดสลุด อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ

พระอุปัชฌาย์ พระธรรมวโรดม ต่อมาได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จ พระราชาคณะ ในพระราชทินนามที่ สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สนิธ เขมจารี) เจ้าคณะภาค ๑ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคา แขวงสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร

พระกรรมวาจาจารย์ พระครูสมุทรสิริวัฒน์ (หลวงพ่อทับ) วัดสลุด อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ

พระอนุสาวนาจารย์ พระรัตนเมธี (ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระเทพวิริยาภรณ์) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

เด็กชายวินัย โพธิ์สุข ได้อยู่ที่วัดสลุดกับหลวงพ่อทับ ตั้งแต่อายุ 3 ขวบ เป็นที่รู้กันว่าหลวงพ่อทับ วัดสลุด เป็นศิษย์เอกของหลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว (อุปัชฌาย์หลวงปู่เผือกคือ หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา) ได้รับการถ่ายทอดวิชาจากหลวงพ่อทับ จนกระทั่งได้บรรพชาเป็นสามเณร พอบวชได้เพียงปีเดียวก็มีลูกศิษย์สร้างเหรียญถวายกันเลย

ตำราเก่าของหลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้วก็ตกทอดมาถึงหลวงพ่อเณรแบบเต็มสูตร รวมถึงตำราของหลวงปู่ทองวัดราชโยธา

อีกทั้งท่านยังเดินธุดงค์แสวงหาความรู้และเดินทางหาครูบาอาจารย์ ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร ท่านได้ธุดงค์ไปที่ต่างๆทั้งในประเทศไทย พม่า ลาว เขมร เพื่อศึกษาวิชาความรู้ด้านต่างๆ เมื่อกลับจากธุดงค์แล้วท่านได้ใช้วิชาเพื่อสงเคราะห์สานุศิษย์และญาติโยมผู้ ทุกข์ร้อนด้วยสาเหตุนานาประการ กิตติศัพท์ของท่านก็เริ่มร่ำลือแผ่ขยายออกสู่ภายนอกกว้างออกไปทุกที จนกลายเป็นครูบาอาจารย์ของบุคคลทั้งหลาย ทั้งๆที่ย้งเป็นเพียงสามเณร คนทั้งหลายที่ศรัทธาจึงพากันยกย่องและเรียกท่านว่า "หลวงพ่อเณร"

ผู้ที่เป็นทั้งอาจารย์และดูฤกษ์บวชให้หลวงพ่อเณร ญาณวินโย คือหลวงปู่คำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์ และพระที่นั่งอันดับในงานบวชล้วนเป็นเกจิในยุคนั้นทั้งสิ้น ซึ่งหลวงพ่อเณรก็ได้ศึกษาศาสตร์ต่างๆจากท่านเหล่านั้นด้วย

หลวงพ่อเณร ท่านสืบสานวิชาตำหรับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโคจาก หลวงปู่ฤาษีลิงขาว (หลวงพ่อช่อ อภินันโท) วัดฤกษ์บุญมี ศิษย์เอกหลวงปู่ปานอีกรูปหนึ่ง

นอกจากนี้หลวงพ่อเณรได้ศึกษาวิชาจากครูบาอาจารย์ท่านต่างๆ โดยตรง ด้วยตัวท่านเอง เช่น

หลวงปู่คำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์ จ.ลพบุรี

หลวงพ่อบุญมี วัดเขาสมอคอน จ.ลพบุรี

หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง

หลวงปู่คำแสน คุณาลังกาโร วัดป่าดอนมูล จ.เชียงใหม่

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่

ครูบาหมวก วัดดอนชัย (ศิษย์ครูบาศรีวิชัย) จ.เชียงใหม่

หลวงพ่อบุญเย็น ฐานธมฺโม (หลวงพ่อประกาศิต) สำนักพระเจ้าพรหมมหาราช ตำบลปงตำ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

หลวงปู่อิน วัดลาดท่าใหม่ จ.จันทบุรี หรือหลวงพ่ออินเทวดา (ศิษย์หลวงปู่จัน วัดนางหนู และ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า)

หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จ.จันทบุรี

หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า จ.ระยอง

หลวงปู่ชื่น วัดมาบข่า จ.ระยอง

หลวงปู่นิด วัดทับมา จ.ระยอง

หลวงพ่อช่วย วัดไตรมุก จ.ชลบุรี(ศิษย์หลวงปู่ปาน วัดบางเหี้ย)

หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี

หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ

หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังวิเวการาม จ.กาญจนบุรี

พระปลัดใบ คุณวีโร วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม(ศิษย์เอกหลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว)

หลวงปู่หน่าย วัดบ้านแจ้ง จ.พระนครศรีอยุธยา

หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา จ.พระนครศรีอยุธยา 

หลวงปู่ฮวด วัดสุวรรณดาราม อยุธยา (ศิษย์หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน)

หลวงปู่พรหมา เขมจาโร วัดสวนหินผานางคอย จ.อุบลราชธานี

หลวงปู่เคน วัดแซ่อุดมสุข จ.อุบลราชธานี

หลวงปู่ชื่น วัดตาอี จ.บุรีรัมย์

หลวงปู่ฤทธิ์ วัดชลประทานราชดำริ จ.บุรีรัมย์

หลวงปู่ผูก วัดเกาะ จ.เพชรบุรี (ศิษย์สายหลวงพ่อมี วัดพระทรง)

หลวงพ่อเปล่ง วัดวังไคร้ จ.เพชรบุรี (ศิษย์หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง จ.เพชรบุรี )

หลวงพ่อเอื้อน วัดเขาทะโมน จ.เพชรบุรี (ศิษย์หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง จ.เพชรบุรี )

หลวงพ่อสุด วัดกาหลง จ.สมุทรสาคร

สมเด็จพระสุเมธาธิบดี จวน นาถ สังฆราชเขมร

ฯลฯ หลวงพ่อเณรท่าน คือขุมคลังแห่งศาสตร์วิชาความรู้เก่าแก่ อาจเป็นเพราะอำนาจบุญบารมีที่ท่านสั่งสมมา จึงได้รับความเมตตาจากครูบาอาจารย์ที่มีชื่อเลียงเป็นที่ยอมรับกับคนทั้งหลาย จนสามารถตั้งวัดพัฒนาจากแผ่นดินกลางนามาเป็นวัดทุ่งเศรษฐี (ราม 2) ดังที่เห็นในปัจจุบัน

ราคา :
 1000
โทรศัพท์ :
 0837946145, 0837946145
วันที่ :
 17/08/23 08:38:55
 
 
ตะกรุดยันต์เกราะเพชร หลวงพ่อเณร วัดทุ่งเศรษฐี พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.