แก้วเสด็จแก้วยอดธาตุ(จุยเจีย) น้ำงามๆ ขนาด1นิ้ว ขุดได้จากพระธาตุเก่า แก้วเสด็จ”เครื่องประดับยอดเจดีย์ ขุดได้วัดห่าง (วัดร้าง) พบตามกู่เก่า เจดีย์ ผู้เฒ่าผู้แก่เชื่อว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ มีเทพเทวดาปกปักษ์รักษา ถือเป็นเครื่องรางทนสิทธิ์ ของรักของห่วงของผู้เฒ่าผู้แก่ "แก้วเสด็จ” ถือเป็นเครื่องรางสมัยตาทวด จากความเชื่อของชนชาวล้านนามักจะนำบรรจุในกรุพระ เจดี ตามวัด เเสงบางครั้งก็จะเป็นต้นกำเนิดเรื่องเล่าของลำแสงประหลาดที่ลอยไปมาทั่ว องค์สถูปเจดี ในวัดเก่า หรือ ในบ้านคนที่เก็บเเสงมาบูชาที่บ้าน ในวันพระใหญ่ วันโกน วันปล่อยผี ก็มักจะพบเจอลำเเสงประหลาด เรื่องเล่าตาคนเเก่ คนเฒ่า ตำนานเเสงล้านนา และนอกจากนี้คนยุคโบราณยังนำหินแก้วกายสิทธิ์ เหล่านี้มาเจียระไน ทำเป็นพระพุทธรูปบรรจุไว้ในเจดีย์ ตามวัดในเมืองล้านนาในอดีต เช่นเชียงแสน,เชียงใหม่,อ.ฮอด,เชียงราย,ลำพูน,ลำปาง,น่าน,แพร่,อุตรดิตถ์,พิษณุโลก, อยุธยา ฯลฯ แสดงว่ามีผู้รู้จักแก้ว กายสิทธิ์มาแต่โบราณกาลนับพันๆ ปีแล้ว จากหลักฐานที่ขุดค้นพบจากกรุเจดีย์ต่างๆในภาคเหนือนั้นก็ล้วนพบดวงแก้วกายสิทธิ์บ้าง พระหินแก้วกายสิทธิ์บ้าง และกายสิทธิ์รูปต่างๆ ดังปรากฏหลักฐานในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งจะพบว่าตามกรุเจดีย์วัดร้างที่ขุดพบนี้ มีพระแก้วกายสิทธิ์,ช้างแก้ว,กวางแก้ว,ผอบแก้วใส่พระบรมสารีริกธาตุ และมีดวงแก้วกลมอีกด้วย เช่น ที่พบจาก เมืองฮอดเชียงใหม่ เชียงแสน เชียงของ เชียงคำ และ อำเภอเถิน จ.ลำปาง แสดงว่าบรรพบุรุษของไทย ได้รู้จักแก้วกายสิทธิ์มานานแล้วตั้งแต่โบราณกาล ความลับเกี่ยวกับเรื่องขุมแก้วกายสิทธิ์ในเมืองเหนือ เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีพระพุทธ แก้ว อันถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมือง เพราะแก้วย่อมถือเป็นของ มีค่าหาได้ยาก โดยเฉพาะแก้วหินจากธรรมชาติ ลักษณะหินแก้วใสเหล่านี้ เกิดเองมีขนาดใหญ่ ๆ ที่ใสบริสุทธิ์จริงๆ หายากมาก ส่วนมาก มักขุ่นครึ่งใสครึ่ง ถึงใสหมดก็มีขนาดเล็ก และหายากมีค่าสูง ส่วนบางก้อนถึงใสสนิทก็อาจมีลายหินม่านหินตามธรรมชาติ เกิดอยู่ภายในปะปนอยู่ทุกก้อน ทุกดวง มากบ้าง น้อยบ้าง ต้องเข้าใจตามความเป็นจริงของธรรมชาติ สำหรับในประเทศไทยนิยมยกย่องหินแก้วผลึกขาวใส (จุยเจีย) เป็นรัตนะ (แก้วอันประณีต ประเสริฐ) เป็นของบริสุทธิ์จึงนิยมมาเจียระไน เป็นพระพุทธรูป,ผอบ, เจดีย์แก้วบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า, พระธาตุของพระอรหันต์ และนิยมทำเป็นดวงแก้วกลม ประดับบูชาไว้บนยอดเจดีย์ต่าง ๆ เช่น พระธาตุดอยสุเทพ,พระธาตุหริภุญชัย
|