ตะกรุดมหาหวาน เนื้อเงิน เลี่ยมทอง ปี2558 วัดป่าแดด
เลี่ยมทอง ปี2558 หมายเลข 26 เนื้อเงินสร้างเพียง 32 ดอก
เป็นตะกรุดเด่นทางด้านเมตตามหานิยม ขึ้นเจ้า เฝ้าขุนท้าวพระยา ค้าขาย มีไว้สักการะบูชา มีโชคลาภอยู่เนืองๆ ติดต่อธุรกิจการงาน จะสำเร็จสมประสงค์ หากมีอุปสรรคจะผ่านพ้นอย่างง่ายดาย ปราถนาสิ่งใดก็จะสำเร็จทุกประการ ตะกรุดมหาหวาน (จันทร์ซ้อนจันทร์) มีค่าควรเมือง บุคคลใดที่ได้ตะกรุดมหาหวานไว้บูชาจักเป็นบุญยิ่งนักแลฯ
พิธีกรรมเริ่มปลุกเสก วันจันทร์ ที่ 8 กันยายน 2557 (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ปีมะเมีย)
สิ้นสุดการปลุกเสก (วันวิสาขบูชา) วันจันทร์ ที่ 1 มิถุนายน 2558 (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 (ปกติวันวิสาขบูชา ตรงกับขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 แต่ปีนี้เป็นปีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหนก็เลื่อนเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ))
ปลุกเสก จันทร์จบจันทร์ ไม่มีวันว่างเว้นในเสน่หาแห่ง มนตรามหาหวาน
เริ่มบวงสรวง จารตะกรุดมหาหวาน ปฐมเมื่อฤกษ์ จันทน์ซ้อนจันทน์ วันที่ 8 กันยายน 2557
จากนั้น ก็จาร เสก ตามฤกษ์แสงแห่งจันทรา จำนวนที่ทำได้ตามฤกษ์ ผานาที ที่เป็นมงคลฤกษ์
ตะกรุดมหาหวานเนื้อทองคำบริสุทธิ์ จำนวน 5 ดอก
ตะกรุดมหาหวานเนื้อเงินบริสุทธิ์ จำนวน 32 ดอก
แล้วนำไปประกอบพิธีกรรมสวดเรียกสูตรอักขระ 1,000 คาบ ในจุดกำหนดที่ไม่มีใครรู้ ใครเห็น ใครได้ยิน อีก 7 ราตรีเพ็ญ .. ตามตำรับมนต์ล้านนา
จากนั้น นำตะกรุดมหาหวานไปดอง แช่ ในน้ำหวาน 3 ชนิด อีกอย่างละ 7 วัน
และสวดเสกด้วยพุทธคุณแห่งมหามนต์มหาหวาน ตามคาบ อีกจนกว่าจะครบสูตรของการแช่ดองน้ำหวานในแต่ละชนิด ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่จัดหากันได้ง่ายๆทั่วไป สิ่งของหวานบริสุทธิ์ที่นำมาสำหรับทำพิธีจะต้องไม่ผ่านไฟ ไม่ผ่านความร้อน ทำจัดหามาแบบสดๆ แบบบริสุทธิ์จากสิ่งที่ธรรมชาติสรรสร้างให้เท่านั้น
น้ำผึ้งป่าแท้ๆ จากรังที่ไม่ต้องใช้ไฟ, น้ำอ้อยป่า ที่คั้นสดๆๆ, น้ำตาลสด ที่ไม่เคี่ยวผ่านไฟ นำมาดอง เอามาแช่ และทำการสวดเสก เรียก "อาการ" อีกอย่างละ 7 วัน ซึ่งจะขาดการสวดเสกเรียกอาการไม่ได้เลย จนตะกรุดลอยขึ้นมาเองทุกครั้งในแต่ละหนที่สวดเสก จึงจะสำเร็จคาบมหามนต์ในแต่ละหน
เมื่อดองทุกขั้นตอนแล้วจะนำมาห่อผ้าขาวแล้วเอามาวางในพานที่บรรจุ เครื่องหอมมงคล 7 อย่าง ในพานมงคลนั้น แล้วทำการบริกรรมคาถาสวด เสก อีก 7 วัน (ทำทุกคาบ ทำทุกวัน ทำทุกเวลา จวบจนกว่า กลิ่นเครื่องหอมมงคล จะจางเลือนลางกลิ่นลงตามธรรมชาติ)
จากนั้นนำตะกรุดมหาหวานทั้งหมดไปในไว้โบสถ์เพื่อสวดเจริญพระพุทธมนต์ใน "วันเพ็ญใหญ่" อีกครั้ง จึงเป็นอันเสร็จพิธีกรรมที่เข้มขลังของล้านนา
|