รูปหล่อพระพุทธชินราช รุ่นหลวงพรหมโยธี ปี2493 เนื้อทองผสม สภาพสวยเดิมๆ ใต้ฐานโค๊ด หล่อติดในตัว
พระพุทธชินราช รุ่นหลวง "พรหมโยธี" องค์นี้ หล่อติดหน้าตา และเส้นซุ้มเรือนแก้วได้คมชัดมากทั้งด้านหน้าและด้านหลังใต้ฐานโค๊ด “อกเลา” หล่อติดในตัว แบบนี้จะหายากกว่า และนิยมเล่นหาราคาแพงกว่า"ตอกโค๊ด" อกเลาตื้นๆ เป็นพระที่มีวัตถุประสงค์ในการสร้างดี มวลสารดี ประกอบพิธีในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เก่าแก่แต่โบราณ ปัจจุบันราคาเช่าหาก็ยังถูก จึงเป็นพระเครื่องที่น่าติดตัวบูชาเป็นอย่างยิ่ง ประวัติหลวงพรหมโยธี (มังกร ผลโยธิน) คือใคร เมื่อตอนเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี ๒๔๗๕ ท่านเป็นทหารมียศนายร้อยเอก ได้เข้าร่วมกับคณะราษฎร์อันมีบุคคลสำคัญที่เป็นแกนนำ คือ พันเอกพระยาพหลหยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดช พันตรีหลวงพิบูลสงคราม และนายปรีดี พนมยงค์
ปี ๒๔๘๑ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะรัฐมนตรี ในคณะรัฐบาลของพันเอกแปลก พิบูลสงคราม ต่อมาปี ๒๔๘๔ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ครั้นเกิดสงครามอินโดจีน ก็ได้รับหน้าที่เป็นแม่ทัพใหญ่ต่อสู้กับฝรั่งเศส ทำการรบจนชนะและได้มีชื่อเสียงมากในการทำสงครามจนเป็นที่ครั้นคร้ามของศัตรู ต่อมาภายหลังท่านมียศ “พลเอก” และลงเล่นการเมือง ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในรัฐบาลจอมพลแปลกฯ เมื่อปี ๒๔๙๙.....
พระชินราชหลวงพรหมฯ สร้างขึ้นที่ " วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร " หรือที่คนพิดโลกเรียกกันติดปากว่า " วัดใหญ่ " ในช่วงหลังสงครามเมื่อปี ๒๔๙๓ โดยท่านเจ้าคุณศรีฯ(สนธิ์) วัดสุทัศน์ฯได้มอบชนวนโลหะและขึ้นไปทำพิธีให้ เป็นพระร่วมปลุกเสกโดยคณาจารย์ทรงคุณวุฒิระดับประเทศในสมัยนั้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพระเถราจารย์ในยุคสงครามแทบทั้งสิ้น ในห้วงเวลานั้น ท่านเจ้าคุณศรีฯ(สนธิ์) ได้สร้างพระพุทธชินราชรุ่นเกาหลีขึ้น เพื่อแจกจ่ายให้กับทหารในการออกไปรบในสงครามเกาหลีที่มีมากถึง ๑๒,๐๐๐ คน และพระชินราชหลวงพรหมฯ หล่อเสร็จพร้อมกันพอดี ทำการปลุกเสกเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ได้นำออกแจกทหารที่ไปรบเช่นเดียวกัน
พระชินราชหลวงพรหมโยธี เป็นอีกหนึ่งในแบบพระพุทธชินราชรูปหล่อโบราณที่มีชื่อเสียง ยิ่งในปัจจุบันที่พระชินราชอินโดจีนมีราคาเช่าหาแพงทะลุหมื่น และขยับขึ้นเรื่อยๆ นั้น พระชินราชหลวงพรหมโยธีก็ทวีบทบาทมากขึ้น ในฐานะพระทางเลือกที่ดีเยี่ยม เหตุเพราะประสบการณ์จากสงครามที่ไม่แพ้กัน พระชินราชหลวงพรหมฯ เป็นเนื้อทองผสม กระแสอมเขียวแบบเดียวกับพระชินราชอินโดจีนทุกประการ
ใต้ฐานพระมี ๒ แบบ คือ
๑. แบบตอกโค๊ด “อกเลา” ตื้นๆ
๒. แบบโค๊ด “อกเลา” หล่อติดในตัว แบบนี้จะหายากกว่า
|