พระสังกัจจายน์ รุ่นแรก ครูบาจันต๊ะ อนาวิโล วัดหนองช้างคืน จ.ลำพูน เนื้อผง ปี 37 องค์นี้สวยสมบูรณ์ แต้มแดงที่พระนาภี(สะดือ) (เป็นเครื่องหมายว่าได้ผ่านการปลุกเสกเพิ่มเติมจาก ลพ.คูณ วัดบ้านไร่ )ปั๊มยันต์กลับเนื้อแดงสยามมีน้อย (สร้างเพียง 133 องค์) แถมครูบา ฯ จารแห้ง ด้านหลังให้เป็นพิเศษ หายากและสุดยอดเมตตามหานิยม พระสังกัจจายน์นี้มีพิมพ์นี้พิมพ์เดียว และพิธีเดียวกันกับขุนแผนรุ่นแรกของท่านแต่สร้างน้อยกว่ากันมาก
นอกจากพวกเครื่องพิมพ์ขุนแผนแล้ว ท่าน ครูบาจันต๊ะ อนาวิโล ยังได้สร้างพระเครื่อง วัตถุมงคล เป็นเนื้อผงอีกหลายต่อหลายพิมพ์ แต่ที่จะกล่าวถึงในตอนนี้ ได้แก่พระเครื่องพิมพ์สังกัจจายน์ ซึ่งพระผงพิมพฺสังกัจจายน์นี้ สร้างขึ้นและถวายให้กับ ครูบาจันต๊ะ อนาวิโล เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2537 ขึ้น 3 ค่ำเดือน 11 ปีจอ โดยคุณเมี้ยน เปียผ่อง วัตถุประสงค์ในการจัดสร้างเพื่อร่วมทำบุญในการสร้างอุโบสถวัดหนองช้างคืน ซึ่งถ้าจะพูดไปแล้วก็ถือว่าสร้างพร้อมกับพระขุนแผนรุ่น 1 นั้นเอง หากจะกล่าวถึงมวลสารที่ใช้ทำนั้นดีเยี่ยมทุกรายการ พอจะยกตัวอย่างก็คือ น้ำทิพย์วัดดอยขม้อ น้ำมนต์วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่ น้ำมนต์รูปเสก ลพ.คูณ วัดบ้านไร่ แป้งเสก ลพ.จุ้ย เพชรบุรี ผงไม้ไผ่แดง ครูบาจันต๊ะ อนาวิโล ผงดอกไม้แห้งนานาชนิด กาฝากรัก กาฝากขนุน ผงสมเด็จ ลพ.แดง วัดเขาบันไดอิฐ ปูนขาว น้ำมันตังอิ๊ว ฯลฯ ซึ่งมวลสารที่ใช้ทำนั้น ยังมีอีกมากมาย ที่กล่าวไม่หมด ซึ่งในการสร้างพระสังกัจจายน์นั้นมีพิมพ์เดียวแบ่งเป็นสีเหลือง และอมน้ำตาล 1,335 องค์ , สีแดง 133 องค์ , สีดำ 75 องค์ , สีขาว 154 องค์ , สีเขียวทหาร 112 องค์ ทั้งที่มีการสร้างแบบทาทองอีก 41 องค์ ( ซึ่งแบบทาทองที่ด้านหลังจะไม่มีการปั้มตรายางและมีการจารเฉพาะตัว )รวมจำนวนในการสร้าง พระผงพิมพ์พระสังกัจจายน์ ทั้งหมดมีแค่ 1,850องค์เท่านั้น เพราะฉนั้นสรุปได้ว่า สร้างน้อยกว่าพระขุนแผนเกือบสี่เท่าตัว พุทธคุณของพระสังกัจจายน์ ครูบาจันต๊ะฯ นั้นเด่นไปทางโชคลาภ ค้าขาย และการดำเนินธุระกิจต่างๆ เมตตามหานิยมก็มี แต่ส่วนมากผู้ที่ได้ใช้บูชาพระสังกัจจายน์ พระครูบาจันต๊ะฯ นั้นพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า การเงินการทองคล่องตัว หายากกว่าพระพิมพ์ขุนแผนและขุนช้างของท่าน แต่ราคาย่อมเยาว์กว่าพุทธคุณนั้นเหมือนกับพิมพ์ขุนแผนและขุนช้างรวมกันเลย
คาถาบูชา ครูบาจันต๊ะ อนาวิโล วัดหนองช้างคืน จ.ลำพูน ตั้งจิดอธิฐาน กล่าว นะโม 3 จบ แล้วท่องคาถาดังนี้ "
" อนาวิโล รูปัง สังฆัง วันทามิ สิทธิกิจจัง สัิทธิกัมมัง สิทธิลาภัง ภะวัน ตุเม " ( 3 จบ)
|