ตะกรุดเทวดาขี่เสือ เนื้อทองคำ ลพ.น้อย วัดป่ายาง อ.ลับแล จ.อุตรดิดถ์ ดอกนี้สภาพสวยสมบูรณ์ เห็นรอยจาร ยันต์ของ ลพ.น้อย ฯ ด้านในลึกชัดเจน ขนาดยาว 3 น้ิว เส้นผ่าศุนย์กลาง 1 ซม. เลี่ยมทอง สามห่วงเป็นข้อกลางคล้องพระ สภาพพร้อมใช้หายากยิ่งนัก
ประวัติจากคำบอกเล่าของชาวบ้านระบุว่า ลพ.น้อยฯ ท่านอพยพมาจากเวียงจันทน์ ประเทศลาว ในคราวกบฏเจ้าอนุวงศ์ ในสมัยรัชกาลที่ 3 ตั้งแต่เด็กท่านได้บวชเป็นสามเณรและเล่าเรียนตำราเวทมนต์ที่วัดน้ำใส ต.ชัย
จุมพล อ.ลับแล จ.อุตรดิดถ์ เพราะสมัยนั้นวัดน้ำใส ถือว่าเป็นสำนักตักศิลาของเมืองลับแล ลพ.น้อยฯ ได้ศึกษาจนมีความรู้ที่แตกฉานมีความสามารถด้านสวดมนต์ คาถา และภาาาบาลี สันสกฤต ตลอดจนเรื่องคำสอนในด้านธรรมะ นอกจากนี้ยังเป็นพระภิกษุที่ทรงวิทยาคุณมากท่านหนึ่งและที่ทำใ้ท่านเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายอีกด้านหนึ่งโดยเฉพาะเรื่องเครื่องรางของขลังของท่านที่กล่าวขานจนโด่งดังคือ " พระกรุดเทวดาขี่เสือ"
จากคำบอกเล่าของอาจารย์หิรัญ แสวงรุจิธรรม เล่าถึงเรื่องตะกรุดของ ลพ.น้อยฯ ว่าบิดาของอาจารย์ชื่อว่า ขุนแสวงรุจิธรรม ( เจ็กงอก แซ่เตีย ) มีศักดิ์เป็นน้องภรรยาของพระศรีพนมมาศนายอำเภอลับแลขณะนั้น ได้เคยขอให้ ลพ.น้อย ฯ ทำตะกรุดให้ และเมื่อไปรับตะกรุดจากท่านปรากฏว่าขณะที่กำลังเอื้อมมือรับตะกรุด ลพ.น้อยฯ กำลังส่งให้แต่ท่านแกล้งทำตะกรุดหล่น เมื่อขุนแสวงฯก้มลงเก็บ ลพ.น้อยฯ ก็พุ่งด้วยหอกใบข้าวไปที่ลำตัวขุนแสวงฯอย่างรุนแรงและแทงซ้ำอีกหลายครั้ง จนกระทั่งขุนแสวงฯร้องขึ้นว่า " จะให้ดีๆก็ไม่ได้ ทำไมต้องเอาหอกมาแทงอั้วด้วย" และเป็นที่น่าอัศจรรย์ ที่ร่างกายของขุนแสวงฯ ไม่มีบาดแผลจากการทดสอบของหลวงพ่อแต่อย่างใด
ต่อมามีเหตุการอีกครั้งหนึ่งเมื่อครั้งที่พระศรีพนมมาศขี่ม้าออกตรวจราชการที่โรงสุราแห่งหนึ่งได้ถูกคนร้ายลอบยิงที่บ้านหนองคำห้อย จนตกจากหลังม้า แต่กลับไม่ได้รับอันตรายแต่อย่างใดเพราะในวันนั้น ท่านได้อาราธนาตะกรุด ของ ลพ.น้อยฯ ติดตัวไปด้วย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ตะกรุดของ ลพ.น้อย ฯ ก็เป็นที่โจษจันถึงเรื่องคงกระพันชาตรี ตะกรุดที่ท่านสร้างที่พบ มีทั้ง ตะกรุดเทวดาขี่เสือ คนขี่เสือ และมีรูปเสืออย่างเดียว ฯลฯ อนึง ลพ.น้อยฯ มรณภาพลงเมือประมาณปี พ.ศ.2470
(ขอขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพระเครื่องเมืองอุตรดิดถ์ ของชมรมพระเครื่องเมืองอุตรดิดถ์ พ.ศ.2551 )
|